Degree of freedom หรือระดับความอิสระของชิ้นงานนั้นมีความสำคัญต่อการประกอบชิ้นงาน ในชิ้นงานชิ้นหนึ่งๆนั้นโดยปกติจะมีจำนวนระดับความอิสระสูงสุดอยู่ที่ 6 กล่าวคือวัตถุนั้นจะสามารถเคลื่อนที่ไปมาได้ทั้งหมด 6 ทิศทาง คือ ทางแกน X ทางแกน Y ทางแกน Z และหมุนรอบแกน X หมุนรอบแกน Y และหมุนรอบแกน Z
อย่างเช่นชิ้นงานกระบอกไฮโดรลิกนั้นมีการยืดออกและหดเข้าเท่านั้นดังนั้นกระบอกไฮโดรลิกโดยตัวมันเองแล้วนี้มีระดับความอิสระที่ 1 ระดับ แต่เมื่อนำกระบอกไฮโดรลิกไปประกอบกับชิ้นงานอื่นนอกจากกระบอกต้องทำหน้าที่ยืดหดแล้ว กระบอกยังต้องให้ตัวได้หรือหมุนรอบแกนที่ร้อยตัวกระบอกได้บ้าง ณ ตอนนี้กระบอกไฮโดรลิกนั้นจะมีระดับความอิสระอยู่ที่ ระดับ 2 คือยืดหด และหมุนรอบแกนได้ ชิ้นงานประเภท bracket ที่ใช้จับยึดชิ้นงานอื่นให้อยู่กับที่และไม่สามารถเคลื่อนที่ไปไหนได้นั้นมีระดับความอิสระอยู่ที่ 0
การประกอบชิ้นงานนั้นเป็นการระบุตำแหน่งของชิ้นงานนั้นและทำการลดระดับความอิสระของชิ้นงานนั้นลงเพื่อให้ชิ้นงานนั้นเคลื่อนที่และทำงานตามที่เราต้องการ ลองพิจารณาการวางตู้ตัวหนึ่งเข้ากับมุมห้องห้องหนึ่ง จะพบว่าเราจะมีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้
- เราจะวางตู้ลงบนพื้นห้องก่อน เมื่อเราวางตู้บนพื้นห้องแล้ว จะพบว่าตู้ไม่สามารถที่จะเคลื่อนที่ทะลุพื้นห้องไปได้ และไม่สามารถที่จะหมุนพลิกคว่ำได้ จะเหลือเพียงการเคลื่อนที่ได้สองทิศทางและการหมุนรอบตัวเองได้เท่านั้น จึงลดจำนวนระดับความอิสระของตู้ลงไป 3ระดับ เหลือเพียง 3ระดับที่เราจะสามารถเคลื่อนที่ตู้ได้
- จากนั้นเราดันตู้เข้าชนผนังด้าน A ตู้จะเหลือการเคลื่อนที่ในแนวตรงได้เพียง ทิศทางเดียว และตู้ไม่สามารถที่จะหมุนได้อีกต่อไป ณ ตอนนี้ระดับความอิสระของตู้จะเหลือเพียง 1 ระดับ
- ดันตู้เข้าชนผนัง B ตู้จะไม่สามารถเคลื่อนที่ไปไหนได้อีกและไม่สามารถที่จะหมุนได้ ทำให้ระดับความอิสระของตู้นั้นเหลือ 0 นั่นคือตู้ถูกตรึงอยู่กับที่แล้ว
สิ่งที่เราได้จากการเรียนรู้การวางตู้นี้คือ ระดับความอิสระจะลดลงไปเรื่อยๆๆเมื่อเราทำการประกอบ และการประกอบชิ้นงานหนึ่งๆนั้นจะใช้ทั้งหมด 3 ขั้นตอน หรือเราเรียกว่าจำนวน constraint นั้นเมื่อครบ 3 ขั้นแล้วจะทำให้ระดับความอิสระของชิ้นงานเป็น 0 หรือตึงกับที่
ในการประกอบงานใน solidwork นั้น ก็ใช้หลักการเดียวกันนี้คือการประกอบใช้ constraint อย่างน้อย 3 ครั้งเพื่อตรึงชิ้นงานให้อยู่กับที่ หรือเราเรียกว่า Mate โดยที่การMate คือการให้รูปร่างของชิ้นงานนั้นต่อเข้ากันโดยวิธีที่กำหนด เช่น Coincidence คือการกำหนดให้ รูปทรงต่างๆของชิ้นงาน เช่นจุดกับจุด จุดกับเส้น ผิวกับระนาบ อยู่ที่ตำแหน่งเดียวกัน
ข้อควรระวังในการใช้การประกอบใน Solidwork ก็คือ ชิ้นงานแรกที่คลิกวางลงไปโปรแกรมจะทำการ fixed อยู่กับที่ให้ทันที นั่นคือ ชิ้นงานจะถูกตรึงอยู่กับที่ในตำแหน่งเม้าส์คลิกโดยระดับความอิสระจะเป็นศูนย์ทันที่
ทำให้ชิ้นงานนั้นไม่ได้วางในตำแหน่งorigin หรือ ใน coordinate ที่ต้องการซึ่งส่งผลให้การนำชิ้นงานไปใช้ต่อนั้นจะมีการวางผิดตำแหน่ง โดยปกติในงานประเภทที่มีจำนวนชิ้นงานมากๆนั้นเพื่อที่จะลดความอืดของเครื่องแล้ว เราจะทำ mate ของชิ้นงานให้เหลือเพียง mate เดียวเท่านั้นแต่ชิ้นงานนั้นสามารถที่จะตรึงอยู่กับที่ได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีถึง 3 ตามที่ระบุไว้ข้างต้น วิธีการก็คือการทำ mate ระหว่าง coordinate กับ Coordinate เข้าด้วยกัน การคลิกวางชิ้นงานนั้นแล้ว fixed นั้นจะทำให้ชิ้นงานนั้นเพี้ยนจากตำแหน่ง coordinate ที่ต้องการทำให้การประกอบผิดพลาด และยังส่งผลต่อการนำชิ้นงานไปทำ simulation ที่ต้องการตำแหน่งที่แม่นยำอีกด้วย
หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการประกอบงานใน SOLIDWORKS นั้นท่านสามารถที่จะปรึกษาทางเราซึ่งเรามีผู้เชี่ยวชาญที่จะคอยแนะนำท่านได้และเรายังมีคอร์สอบรมที่ช่วยปูพื้นฐานได้
บทความโดย แอดโจ๊ก
โทร 02-089-4145 (จ-ศ 8.30 – 17.00 น.)
LINE@ : @metrosolidworks
เว็บไซต์ https://metrosystems-des.com/solidworks/contact-us/
YouTube https://www.youtube.com/user/MetroSolidWorks
Facebook Fanpage https://www.facebook.com/metrosolidworks/