สมมติว่าเรามีชิ้นงานสองชิ้นดังแสดงในรูป เมื่อดูด้วยตาแล้วชิ้นงานทั้งสองชิ้นนี้มีความเมหือนกันไม่สามารถที่จะแยกออกได้ว่าเป็นชิ้นงานคนละชิ้น เมื่อหัวหัวหน้าของคุณถามว่า ชิ้นงานทั้งสองชิ้นนี้เหมือนกันหรือไม่ เราจะเช็คกันอย่างไรว่ามันเหมือนกันหรือแตกต่างกัน ซึ่งในบทความนี้เราจะมาเรียนรู้ถึงการตรวจเช็คความเมหือนกันของชิ้นงานแบบง่ายๆ กันครับ
Mass Properties ในการช่วยตรวจสอบ Mass Properties จะเป็นตัวบอกคุณลักษณะของชิ้นงาน เช่น น้ำหนัก พื้นที่ผิว ปริมาตร โมเมนต์ความเฉื่อย เป็นต้น คำจำกัดความของความเท่ากันคือ Mass Properties เท่ากัน ดังชิ้นงานทั้งสองชิ้นนี้นั้นจะเห็นว่ามีมวลและปริมาตรเท่ากันแต่แตกต่างกันที่โมเมนต์ความเฉื่อยที่ขึ้นกับรูปทรงของชิ้นงาน นั่นคือสามารถสรุปได้ว่าชิ้นงานทั้งสองชิ้นนี้ไม่เหมือนกัน แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าไม่เหมือนกันตรงส่วนไหน
Zebra Strip เป็นการแสดงผลความต่อเนื่องของผิว ความเรียบเนียนของชิ้นงานโดยจะแสดงเป็นแถบสีขาวดำเหมือนทางม้าลาย ผิวของชิ้นงานนั้นจะแสดงรูปแบบของแถบม้าลายนี้ออกมาแตกต่างกันไปทำให้สามารถนำมาเปรียบความเหมือนกันของผิวชิ้นงานได้ เมื่อนำชิ้นงานซ้อนกันแล้วและเปิดแสดง Zebrastrip ขึ้นมาจะปรากฏแถบม้าลายที่ซ้อนกันอยู่ ผิวที่มีความตรงเหมือนกันนั้นแถบม้าลายจะมีรูปแบบเหมือนกัน หากผิวนั้นมีการกินกันหรือไม่เท่ากันนั้นจะปรากฏรอยต่อบนแถบม้าลายให้เห็น ซึ่งสามารถบ่งบอกได้ว่า ณ บริเวณตำแหน่งที่มีรอยต่อของแถบม้าลายนั้นมีลักาณะไม่แหมือนกันอยู่
Color การใส่สีให้ชิ้นงานเป็นการแยกความแตกต่างและแสดงขอบเขตของชิ้นงานแต่ละชิ้นได้เป็นอย่างดี แต่รู้หรือไม่ว่าเราสามารถนำสีมาช่วยในการเช็คความเหมือนกันของชิ้นงานได้เป็นอย่างดีและง่ายต่อการบอกตำแหน่งที่แตกต่าง ผิวไหนที่สูงกว่าก้จะแสดงสีของชิ้นงานนั้นออกมา ผิวส่วนไหนที่ซ้อนกันพอดีจะประกฏเป็นแถบสีเหมือนทางม้าลายที่ถี่ขึ้นมาและเมื่อหมุนชิ้นงานแล้วจะปรากฏการณกระพริบของสีขึ้นมาอีกด้วย ส่วนที่ไม่ตรงกันนั้นจะปราะกฏสีใดสีหนึ่งของชิ้นงานขึ้นมาโดยที่สีนี้จะมีลักษณะนิ่งเมื่อเราหมุนชิ้นงานไปมา สีใดที่แสดงขึ้นมานั้นหมายถึงผิวของชิ้นงานที่มีสีนั้นอยู่สูงกว่าอีกชิ้นงานหนึ่ง
Assembly Visualize เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ใช้ช่วยในหารเช็คความหมือนของชิ้นงาน โดยที่จะใช้สีในการตรวจสอบแต่ความง่ายคือเราไม่ต้องกำหนดสีลงไปบนชิ้นงานเอง ตัวโปรแกรมจะทำการกำหนดสีลงไปให้โดยอัติโนมัติ หลักการเช่นเดียวกับวิธีการ Color คือจุดไหนที่มีการกระพริบของสีหรือมีแถบสีสลับกันที่ถี่มากๆนั้นหมายความว่าชิ้นงานจะตรงกันและจุดไหนที่แถบสีคงที่นั้นคือชิ้นงานไม่ตรงกัน สำหรับ Assembly Visualize นั้นสามารถเรียกใช้งานได้ที่ แถบเครื่องมือ Evaulate > Assembly Visualize
จากวิธีที่ให้มานั้นในการตรวจเช็คที่ง่ายและทางผู้เขียนแนะนำให้ใช้คือการเช็คด้วยสีครับ สามารถทำได้ง่ายเพียงแค่ใส่สีให้กับชิ้นงานจากนั้นก็หมุนรูปดูไปมาก็จะเห็นได้ถึงความแตกต่างและความเหมือนของชิ้นงานครับ ลองใช้กันดูครับ