ในช่วงเฟสเริ่มต้นของการออกแบบชิ้นงานเครื่องจักรกลที่ต้องมีการเคลื่อนไหวระหว่างชิ้นงานด้วยกันนั้นจะทำได้ยากหากระบบนั้นมีความซับซ้อนสูง เมื่อเรามองภาพทุกอย่างเป็นแบบสามมิติแล้วจะมีความสับสนสำหรับการออกแบบในเบื้องต้น หากเราลองเปลี่ยนมุมมองมาในรูปแบบสองมิติภาพต่าง ๆ ก็จะเริ่มดูง่ายขึ้นและทำให้เราสามารถค่อยออกแบบระบบไปทีละระบบจนกลายเป็นระบบที่ซับซ้อนได้ ในการอกแบบระบบแบบสองมิตินี้ใช่ว่า SOLIDWORKS ที่เก่งในด้านสามิติแล้วจะทำได้ไม่ดี แต่กลับกันเนื่องจากฟังก์ชันการใช้งานที่เรียกว่า Block นั้นจะช่วยให้เราสามารถออกแบบระบบสองมิติได้โดยง่ายเพียงแค่ใช้เส้นสเก็ตช์ก็เพียงพอต่อการทำงาน

Block เป็นกลุ่มของเส้นสเก็ตช์ที่รวมตัวกันเป็นหนึ่งก้อนที่จะขยับตามไปด้วยกันเสมอทั้งก้อน หากเราสร้างสเก็ตช์หลาย ๆ สเก็ตช์แล้วและทำให้สเก็ตช์เหล่านั้นกลายเป็น Block และนำ block เหล่านั้นมาเชื่อมต่อกันเราก้จะสามารถที่จะจำลองการเคลื่อนที่แบบสองมิติได้ ดังแสดงในรูปผมได้สรา้งเส้นสเก็ตช์ของส่วนประกอบกระบะรถบรรทุกที่มีกระบอกไฮโดรลิกสำหรับการยก โดยเขียนแยกสเก็ตช์ในแต่ละชิ้น

ในหน้าสเก็ตช์นั้นไปที่Tool>Block > Make เพื่อสร้าง Block โดยเลือกเส้นที่ต้องการเมื่อทำในทุก ๆ สเก็ตช์แล้วจะเห็นรายการ block ปรากฏอยู่ในรายการ Feature

Block ที่ปรากฏอยู่ในรายการ Feature นั้นสามารถที่จะ Saveแยกออกไปให้กลายเป็นไฟล์เดี่ยว ๆ ได้ การที่สามารถ Save เป็นไฟล์เดี่ยวๆได้นี้นั้นมีข้อดีอย่างหนึ่งคือเราสามารถจะดึงไฟล์เหล่านั้นเข้าเป็นไฟล์งานประกอบได้ จากการที่เราสร้าง Block ทั้งหมดในไฟล์ชิ้นงานเพียงชิ้นเดียว ซึ่งมีประโยชน์มากต่อการที่เราจะทำการจำลองการเคลื่อนที่ของชิ้นงานทั้งหมด ทำให้เราสามารถออกแบบระยะตำแหน่งและการเคลื่อนที่ของแต่ละชิ้นงานได้เพียงแค่การทำสเก็ตช์เท่านั้น นามสกุลของไฟล์ Block นั้นจะเป็น *.SLDBLK

ในไฟล์งานประกอบนั้นเราสามารถที่จะดึงไฟล์ Block เข้ามาได้ผ่านทางการ Insert Block (Tools>Blocks>insert) ดังแสดงในรูปจะเห็นถึง Block ทั้ง 6ชิ้นที่ผมได้สร้างไว้และถูกดึงเข้ามาวางเรียงตัวกันตามตำแหน่งที่ต้องการ

เนื่องจากว่าการนำ block เข้ามาในไฟล์งานประกอบนั้นจะทำในโหมดสเก็ตช์ของไฟล์งานประกอบ ดังนั้นจึงสามารถใช้ Constraint ในงานสเก็ตช์มาประกอบ Block แต่ละ Block เข้าด้วยกันได้ จากในรูปจะเห็นถึงสัญลักษณ์ของการทำ Constraint ในสเก็ตช์ที่คุ้นเคย โดยเพื่อให้สามารถเคลื่อนที่ได้ผู้ใช้จะต้องประกอบให้เหลือ Degree of freedom ในทิศทางที่สามารถเคลื่อนที่ได้

ทุกอย่างได้ถูกกำหนดไปหมดแล้ว ทีนี้ก็เหลือแต่การจำลองคลิกเมาส์ลากจุดต่าง ๆ ไปมา จะเห็นได้ถึงชิ้นงานที่เคลื่อนที่ไปมาตาม constraint ที่เรากำหนดไว้ เมื่อลองปรับระยะการประกอบเช่น ระยะ 30 ในรูปนั้นก็จะทำให้ชิ้นงานนั้นเคลื่อนที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

การทำ Block นี้จะช่วยเราได้อย่างมากในการออกแบบระบบตอนช่วงเริ่มต้น ด้วยความที่เป็นแบบสองมิติจึงง่ายที่จะสร้างและทำให้เราได้แบบคอนเซปต์เบื้องต้นได้อย่างรวดเร็ว ก่อนที่เราจะเริ่มลงมือทำในรายละเอียดต่อไป หากท่ามีปัญหาหรือข้อขัดข้องประการใดทางเรามีทีมงานคอยช่วยตอบปัญหาข้อขัดข้องต่าง ๆ ไว้ตลอดเวลาครับ ติดต่อมานะครับ

บทความโดย แอดโจ๊ก

———————————————————————

ติดต่อเราได้ที่
โทร 02-089-4145 (จ-ศ 8.30 – 17.00 น.)
ติดต่อได้ทุกเวลาโทร 097-158-8174
LINE@ คลิก https://bit.ly/2yrNF24
เว็บไซต์ https://metrosystems-des.com/
YouTube https://www.youtube.com/user/MetroSolidWorks
Facebook Fanpage https://www.facebook.com/metrosolidworks/
Inbox มาเลยก็ได้น้า
รัก SOLIDWORKS สุด ๆ คลิกเลย https://www.facebook.com/groups/2076765539017446/

ctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.