เมื่อเราเขียนแบบสามมิติในขั้นคอนเซปต์เสร็จแล้ว การเขียนน็อต สกรูเพิ่มเติมลงไปก็เป็นส่วนหนึ่งในการทำแบบอย่างละเอียด แต่สิ่งที่หลาย ๆ คนอาจจะขาดไปที่จะทำให้การเขียนแบบสามมิตินั้นสมบูรณ์มากขึ้นนั่นคือการเขียนพวกสายไฟลงไปในอุปกรณ์ โดยมากเราจะเขียนสายไฟลงไปในแบบแปลนสองมิติเพื่อแสดงว่าสายต่อระหว่างจุดใดแต่แบบแปลนนั้นจะไม่ได้บอกว่าสายไฟนั้นเลื้อยไปตามชิ้นส่วนต่าง ๆ อย่างไร
หลาย ๆ ครั้งเราจะอาศัยการทำหน้างานหรือค่อยไปเลื้อยตอนเป็นชิ้นงานจริง และหลายครั้ง ๆ เมื่อเราเอาชิ้นงานนั้นไปทดสอบทดลองใช้งานและจะพบกับปัญหาอันเนื่องมาจากสายไฟเกิดการสั่นและทำให้ขั้วหลุดออกมาเนื่องจากจุดซัพพอร์ทไม่เพียงพอซึ่งไม่ได้คำนึงถึงไว้ในการออกแบบเนื่องจากไม่ได้เขียนแบบแบบละเอียดไว้ หลายครั้งเป็นเพราะเกิดจากความกลัวว่าจะวาดหรือเขียนไม่ได้ ไม่รู้ว่าจะเขียนด้วยวิธีใด หรือไม่มีโมดูลสำเร็จรูปช่วย แต่สิ่งเรานี้นั้นจริงๆแล้วเราสามารถสร้างได้ง่ายๆด้วยเพียงการใช้โมดูลการสร้างชิ้นงานแบบพื้นฐาน นั่นคือ เส้นสเกตซ์และฟีเจอร์ extrude/revolve/sweep/loft ในการทำให้เป็นแบบสามมิติ สิ่งที่สำคัญที่สุดของการทำ wiring นี้คือการเส้นทางการเลื้อยให้มีความยาวเป็นตามที่ต้องการและไม่ไปขวางหรือขัดกับชิ้นส่วนอื่นๆ
ในการสร้างเส้นเลื้อยนั้นสามารถทำได้สองวิธีหลัก ๆ ดังนี้
1. การทำ combine sketch
หลายคนคงเคยเขียนภาพฉายวัตถุซึ่งจะทำจากเขยนแบบสามมิติก่อนและค่อยเอามาแสดงเป็นภาพฉายสามทิศทาง ในกระบวนการกลับกัน การรวมภาพฉายเข้าด้วยกันก็จะได้งานสามมิติ ดังนั้น หากเราวาดเสกตซ์ในรูปแบบภาพฉายของสายไฟได้ก็จะสามารถนำเสนช้นเหล่านั้นมารวมกันกลายเป็นเส้นทางการเลื้อยของสายไฟได้ในตัวอย่างนี้ ผมได้ทำการสร้างสเกตช์สองสเกตช์ ในระนาบ front และ top โดยให้จุดต่อในแต่ละจุดนั้นตรงกันในทุกระนาบ
จากนั้นใช้คำสั่ง extrude surface ทำการยืดเส้นเสกตช์ออกเป็นสองผิวที่ตัดกันอยู่ โดยความยาวในการยืดนั้นต้องครอบคลุมขนาดของเส้นสเกตซ์ทั้งหมด มาถึงตอนนี้เราจะเส้นบริเวณที่ผิวทั้งสองนั้นตัดกันอยู่ นั่นคือเส้นการเลื้อยสายไฟของเรานั่นเอง
ไปที่ 3D สเกตซ์ เลือก intersection curve จากนั้นทำการเลือกผิวทั้งสอง ก็จะได้เส้นสเกตช์ในแบบสามมิติมาครับ
2. การใช้จุด Reference ช่วยในการสร้าง
การใช้จุดช่วยนี้คือการสร้างจุดลงไปตามตำแหน่งที่เส้นทางการเลื้อยนั้นเปลี่ยนทิศทาง ไม่ว่าจะเกิดการหักมุมเลี้ยว การงอสาย จุดเหล่านั้นจะเป็นจุดเริ่มต้นและจุดปลายของโค้ง
เชื่อมต่อจุดกันด้วยเส้นสเกตช์แบบสามมิติและตรงบริเวณโค้งสามารถใช้เส้นโค้งในการสร้างโดยใช้จุดเหล่านี้และกำหนดรัศมีของส่วนโค้งลงไป ในตัวอย่างนี้ผมได้วางจุดในแต่ละตำแหน่งเอาไว้แล้วโดยจุดนี้สามารถสร้างได้จาก 3d sketch จากนั้นค่อยๆต่อจุดโดยใช้เส้นตรงหรือspline ในการต่อจนครบก็จะได้เส้นทางการเลื้อยของสายไฟมา
บางครั้งสายไฟมันก็ไม่ได้ลอยเปล่า ๆ เส้นใครเส้นมัน บางกรณีจะมีการพันสายไฟสองเส้นเข้าด้วยกันเป็นเกลียวนั้นก็สามารถทำได้ไม่ยาก โดยหลักการเดิม แต่เพิ่มเติมคือการสร้าง helix สเกตช์ขึ้นมาและทำการต่อเส้นเข้าด้วยกัน ในตัวอย่างนี้เราจะเริ่มด้วยเส้นสเกตช์นำทางของการพุ่งไปของสายไฟ จากนั้นเราทำการ Sweep แบบหมุนทำของหน้าตัดที่เป็นเส้นจะทำให้เกิดเกลียวแบบที่เราเฉือนมันฝรั่งทอด
โดยที่เกลียวที่ปรากฏนั้นจะมีสองขอบและใช้ขอบเหล่านั้นในการสร้างเส้นทางสายไฟที่บิดเป็นเกลียว ก็จะได้สายไฟที่พันเป็นเกลียว จะเห็นได้ว่าการสร้างชิ้นงานนี้ไม่ได้จำกัดแค่สายไฟอย่างเดียวแต่ยังคงประยุกต์ใช้กับการเดินท่อต่าง ๆ ไปยังชิ้นงานที่ต้องการ เชือกก็สามารถที่จะทำได้อีกด้วยครับ
บทความโดย แอดโจ๊ก
สนใจ SOLIDWORKS ติดต่อเราได้ที่
โทร 02-089-4145 (จ-ศ 8.30 – 17.00 น.)
LINE@ : @metrosolidworks
เว็บไซต์ https://metrosystems-des.com/solidworks/contact-us/
YouTube https://www.youtube.com/user/MetroSolidWorks
Facebook Fanpage https://www.facebook.com/metrosolidworks/
Inbox มาเลยก็ได้น้า