การจำลองการเคลื่อนที่ของชิ้นส่วนเครื่องจักร ชิ้นส่วนยานยนต์หรือสิ่งต่าง ๆ ที่เราได้ออกแบบหรือต้องการจะศึกษานั้นจะช่วยให้เราเข้าใจฟิสิกส์ของ Real World หรือความเป็นจริงในธรรมชาติได้มากขึ้น การจำลองการเคลื่อนที่โดยทั่วไปนั้นจะเรียกว่า Multibody Dynamic Simulation คือการจำลองการเคลื่อนที่ของวัตถุแข็งเกร็ง โดยชิ้นงานนั้นจะไม่สามารถบิดงอได้ ซึ่งในสภาพความเป็นจริงแล้ววัตถุหรือชิ้นงานนั้นจะไม่เป็นวัตถุแข็งเกร็งแต่จะมีการอ่อนตัวไปตามแรงที่กระทำต่อวัตถุนั้น โดยปกติเราก็จะทำโดยวิธีการเก็บข้อมูลแรงที่เกิดขึ้นในข้อต่อต่าง ๆ ของชิ้นงานที่เราสนใจ จากนั้นก็นำมาป้อนใส่การคำนวน Static Simulation และดูการอ่อนตัวของชิ้นงานที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา นั่นคือเราไม่สามารถที่จะแสดงผลแบบ Real Time ได้คือการเสียรูปที่เกิดขึ้นนั้นแสดงให้เห็นในขณะเดียวกันกับที่มีการเคลื่อนที่เลย แต่คุณรู้หรือไม่ว่า SOLIDWORKS Motion Analysis นั้นสามารถคำนวน Stress Motion คือ ค่า Stress หรือ Deformation ไปพร้อมกับจำลองการเคลื่อนที่ได้เลย ได้อย่างไรเราจะมาลองดูกันครับ

SOLIDWORKS STRESS MOTION ANALYSIS1

ในที่นี้ผมได้ลองสร้างตัวอย่างชิ้นงานสำหรับการทดสอบฟังก์ชันนี้ใน SOLIDWORKS Motion Analysis ในที่นี้จะเป็นตัวแขนจับของหุ่นยนต์แบบง่าย ๆ โดยแขนนี้จะเคลื่อนที่โดยใช้กระบอก Linear Actuator โดยเมื่อกระบอกนี้ยืดออกก็จะดันแขนให้เคลื่อนที่ขึ้นและลงได้ แรงที่ใช้ดันแขนที่เกิดขึ้นนี้มีมาจากสามส่วนหลัก ๆ คือ

  1. น้ำหนักของแขนทั้งหมดรวมทั้งอุปกรณ์ที่ใช้หยิบจับซึ่งเป็นผลมาจากแรงโน้มถ่วง
  2. อัตราการเคลื่อนที่ของแขนว่าจะเร็วหรือช้าที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโมเมนตัมซึ่งก็คือแรง
  3. แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นตามข้อต่อต่าง ๆ ซึ่งในที่นี้เราจะคิดว่าข้อต่อนั้นหมุนหรือเคลื่อนที่ได้สะดวกโดยไม่มีการสูญเสียกำลัง

ซึ่งการคำนวนโดยปกติแบบ Static นั้นจะไม่รวมเอฟเฟคในข้อที่ 2 ไว้ การคำนวนแบบ Stress พร้อม Motion Analysis นั้นจะทำให้ผลการคำนวนนั้นมีรวมแรงที่เกิดขึ้นได้ใกล้เคียงความจริงมากขึ้น

จากนั้นผมทำการประกอบชิ้นงานต่างเข้ากันโดยใช้การ Mate และปรับตำแหน่งของแขนให้อยู่ในตำแหน่งเริ่มต้นก่อน โดยการ Mate นี้จะทำแบบสมบูรณ์คือชิ้นงานไม่สามารถเคลื่อนที่ได้เลย จุดนี้สำคัญเพราะต้องการกำหนดตำแหน่งเริ่มติ้นของชิ้นงาน การ Mate ไม่ครบจะทำให้จะทำชิ้นงานนั้นเคลื่อนที่ได้และมีโอกาสที่จะทำให้ชิ้นงานเคลื่อนที่ไปจากตำแหน่งเริ่มต้นโดยที่เราไม่ได้สังเกต

SOLIDWORKS STRESS MOTION ANALYSIS2

ผมเข้า Addin เพื่อไปเปิดการใช้งาน Module Motion analysis สำหรับการคำนวนแรงที่ได้จากการเคลื่อนที่ และ SOLIDWORKS Simulation เพื่อไว้สำหรับคำนวณ Stress และ Deformation จากแรงที่คำนวนได้ ในส่วนของ Motion Analysis นั้นผมได้ทำการปลด Mate บางส่วนออกเพื่อให้ชิ้นงานนั้นสามารถเคลื่อนที่ได้ และกำหนด Linear Motor เข้าไปที่กระบอก Actuator เพื่อให้เคลื่อนที่ออกดันตัวแขนขึ้น และจากนั้นก็จำลองการเคลื่อนที่ก่อนเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของการวิเคราะห์การเคลื่อนที่

SOLIDWORKS STRESS MOTION ANALYSIS3

ผมได้พลอตค่าของแรงในกระบอก Actuator ออกมาเพื่อตรวจสอบแรงที่เกิดขึ้นในกระบอกว่าเป็นตามที่คำนวณเบื้องต้นไว้หรือไม่ หากทุกอย่างเป็นไปตามที่คำนวนไว้ค่อยเริ่มขั้นตอนการวิเคราะห์ลำดับต่อไปครับ ในจังหวะเริ่มยกนั้นจะใช้แรงในการยกที่สูงและจะค่อยๆลดลงเมื่อมุมยกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

SOLIDWORKS STRESS MOTION ANALYSIS4

ในการที่จะคำนวน Stress ไปพร้อมกับการวิเคราะห์การเคลื่อนที่นั้นมีข้อควรพึงระวังไว้คือ เวลาที่ใช้ในการคำนวนนั้นค่อนข้างจะนาน อันเนื่องมาจากในการคำนวนการเคลื่อนที่นั้นขนาดของ TimeStep มีความสำคัญ ยิ่งมีขนาดเล็กจะมีความแม่นยำในการคำนวนมากขึ้น ในทุก ๆ TimeStep จะถูกคำนวน Stress/Strain ซึ่งถ้าชิ้นงานมีความละเอียดของ Mesh ที่มากจะยิ่งใช้เวลามากในการคำนวน แม้ว่า Mesh ที่น้อยจะลดเวลาในการคำนวนได้แต่ก็จะเสียความแม่นยำของผลลัพธ์ไป ผู้ใช้ต้องหาจุดสมดุลระหว่างความแม่นยำในการคำนวนกับระยะเวลาที่ใช้ในการคำนวน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับชนิดของปัญหานั้น ๆ

การเซ็ตค่าคำนวน Stress นั้นสามารถทำได้โดยง่ายไม่ยุ่งยาก ใน Simulation Setup นั้นให้เลือกชิ้นงานที่ต้องการคำนวน Stress และเลือกช่วงเวลาในการคำนวน Stress ซึ่งเราสามารถที่จะเลือกคำนวนในบางช่วงหรือคำนวนทั้งหมดของช่วงเวลาที่ชิ้นงานเคลื่อนที่ก็สามารถทำได้ และแน่นอนครับการคำนวน Stress ยังต้องใช้ Mesh เลือกขนาด Mesh Density ที่ต้องการ กด Check Mesh เพื่อดูขนาดของ Mesh ว่าเพียงพอต่อความต้องการหรือไม่ จากนั้นก็ทำการคำนวนได้เลยครับ

SOLIDWORKS STRESS MOTION ANALYSIS5

ในกรณีนี้ เครื่อง i7-Gen6 Ram32 ใช้เวลาคำนวนประมาณ 8 ชั่วโมง ก็ได้ผลลัพธ์มาครับผลลัพธ์แสดงการ Deformation ของแต่ละวินาทีที่เคลื่อนที่ไปซึ่งเราสามารถที่จะดูในทุก ๆ ช่วงเวลาได้ว่า Deformation หรือ Stress ในแต่ละชุดของชิ้นงานนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

ไม่ยากใช่ไหมครับในการวิเคราะห์ความแรงพร้อมกับการจำลองการเคลื่อนที่ของชิ้นงาน สิ่งสำคัญคือต้องหาจุดสมดุลของความแม่นยำของการคำนวนต่อระยะเวลาที่ใช้ หากท่านมีข้อสงสัยหรืออยากนำไปใช้ในงานของท่านสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ ทางเรามีเจ้าหน้าที่เทคนิคคอยบริการท่านอยู่ตลอดเวลาครับ

บทความโดย แอดโจ๊ก

ติดต่อเราได้ที่
โทร 02-089-4145 (จ-ศ 8.30 – 17.00 น.)
ติดต่อได้ทุกเวลาโทร 097-158-8174
LINE@ : @metrosolidworks คลิก https://bit.ly/2yrNF24
เว็บไซต์ https://metrosystems-des.com/contact-us/
YouTube https://www.youtube.com/user/MetroSolidWorks
Facebook Fanpage https://www.facebook.com/metrosolidworks/
Inbox มาเลยก็ได้น้า
รัก SOLIDWORKS สุด ๆ คลิกเลย https://www.facebook.com/groups/2076765539017446/