ในหัวข้อนี้จะพูดถึงเกี่ยวกับการทำ Pattern หรือการทำซ้ำของฟีเจอร์ในชิ้นงาน ซึ่งเราจะมาเรียนรู้ถึงฟีเจอร์นี้ว่าคืออะไรมีรูปแบบอย่างไรบ้างและเราสามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ในการสร้างชิ้นงานของเราได้อย่างไร

ลองพิจารณาชิ้นส่วนโซ่สายพานที่คล้องระหว่างเฟืองเกียร์ที่จานถีบกับเฟืองเกียร์ที่ล้อหลังของจักรยาน จะเห็นว่าโซ่นั้นประกอบด้วยข้อโซ่จำนวนย่อย ๆ  หลายข้อต่อเข้าด้วยกันจนเป็นเส้นยาว ในโซ่เส้นหนึ่ง ๆ นั้นจะมีข้อโซ่หลายสิบตัวประกอบเข้าด้วยกัน การนั่งประกอบข้อโซ่แต่ละข้อเข้าด้วยกันนั้นเป็นการทำซ้ำวิธีประกอบข้อโซ่ด้วยกัน ซึ่งเป็นการฝึกความอดทนต่อการทำงานแต่หัวหน้าคงไม่พอใจเป็นแน่กับเวลาที่ใช้ไปและความน่ากลัวที่จะเกิดขึ้นก็คือเมื่อมีการเปลี่ยนแบบดีไซน์แล้วคนที่ประกอบโซ่แต่ละข้อเข้าด้วยกันนั้นคงไม่ชอบใจเป็นแน่

ในลักษณะเดียวกันตัวอย่างตะแกรงหน้าของพัดลมนั้นประกอบไปด้วยซี่ลวดหลายซี่วางเรียงกันเป็นแผ่นวงกลม การประกอบเส้นลวดแต่ละเส้นเข้าด้วยกันเป็นเรื่องที่ท้าทายแต่คงไม่เป็นที่พอใจต่อหัวหน้างานอีกเช่นกันกับเวลาที่สูญเสียไป การทำให้หัวหน้างานพอใจในการอกแบบชิ้นงานของเราที่ใช้เวลาน้อย มีรูปแบบให้เลือกเยอะ ปรับเปลี่ยนฟีเจอร์รูปแบบได้ง่ายนั้นเป็นเรื่องที่นักรบอย่างเราต้องการ

อาวุธที่นักรบอย่างเราต้องการอย่างหนึ่งนั้นสำหรับการทำงานในรูปแบบที่ต้องทำซ้ำๆนี้ใน SOLIDWORKS จะเรียกว่า Pattern (แพทเทิร์น) กระบวนการ Pattern นี้คือการทำฟีเจอร์ซ้ำ ๆ กระบวนการซ้ำในทิศทางที่เรากำหนด อย่างในโซ่ก็คือการทำซ้ำกระบวนการประกอบข้อโซ่ในทิศทางตามความยาวของสายโซ่ที่กำหนด  ส่วนเส้นลวดในตะแกรงหน้าพัดลมนั้นจะเห็นว่าเป็นการทำซ้ำเส้นลวดในทิศทางแนวรัศมี ซึ่งจะเห็นว่าข้อกำหนดของการทำ Pattern นั้นจะเห็นได้ว่าต้องมีเงื่อนไขสองประการคือ ต้องมีฟีเจอร์ที่จะทำซ้ำและทิศทางที่จะทำซ้ำ จึงจะสามารถที่จะทำ Pattern ได้

รูปแบบ Pattern ใน SOLIDWORKS นั้นมีด้วยกัน 7 แบบ ดังนี้

Linear Pattern 

เป็นการทำ Pattern แบบแนวเส้นตรงก่ลาวคือรูปแบบการทำซ้ำในทิศทางเดียวที่ตามแนวเส้นตรง ซึ่งแนวเส้นตรงอาจจะมาจากทั้ง เส้นสเกตช์ที่กำหนดไว้หรือการใช้เวคเตอร์เป็นตัวแทนในการกำหนดทิศก็ได้ ซึ่งเมื่อกำหนดเงื่อนไขสองเงื่อนไขครบแล้ว เงื่อนไขที่ตามมาก็คือระยะห่างและจำนวนที่จะทำซ้ำ

Circular Pattern

เป็นการทำซ้ำรอบแกนหมุนหนึ่ง กล่าวคือเป็นรูปแบบการทำซ้ำในทิศทางเดียวคือตามแนวรัศมีรอบแกนหมุนที่กำหนด แกนนี้สามารถกำหนดได้จาก ผิวทรงกระบอก แกน เส้นสเกตช์หรือขอบของชิ้นงานก็ได้

Curve Driven Pattern

เป็นรูปแบบการ Pattern ที่ว่าให้ฟีเจอร์ที่จะทำซ้ำนั้นมีทิศทางไปตามเส้น Curve ที่กำหนดไว้ โดยที่เส้นนี้จะโค้งงอไปในทิศทางใดๆก็ตาม ฟีเจอร์ที่ทำซ้ำนั้นก็จะเกาะติดเส้นนี้ไปเสมอ

Sketch Driven Pattern

ในกรณีที่เราต้องการให้การทำซ้ำนั้นมีลักษณะเป็นไปตามรูปแบบของจุดที่เราวางไว้ โดยที่จุดนั้นอยู่บนสเกตช์ที่เราอ้างถึงไว้ ผลลัพธ์ก็คือการ Pattern ในลัษณะที่เรากำหนดรูปแบบการเรียงตัวได้เอง

Table Pattern

ในบางครั้งเราใช้ Spreadsheet ในการคำนวนตำแหน่งของชิ้นงานที่จะวางไว้โดยตำแหน่งนี้มาจากสมการที่กำหนด เราสามารถที่จะนำเอาผลลัพธ์ที่คำนวนได้มาวางเป็น Coordinate และทำการ Pattern ตาม Coordinate นั้นได้

Fill Pattern

เป็นรูปแบบการทำ Pattern ในขอบเขตสเกตซ์ที่กำหนด กล่าวคือ เราต้องการทำ Pattern ภายในขอบเขตเส้นสเกตซ์ที่เรากำหนดไว้เท่านั้น นอกเหนือขอบเขตนี้ไปจะไม่มีการทำ pattern เกิดขึ้น  ลักษณะของรูปแบบการทำ Pattern ในแบบนี้นั้นจะมีให้ด้วยกัน 4 ลักษณะตามความต้องการใช้

Variable Pattern

ในบางครั้งเราต้องการที่จะทำ Pattern ที่ทำให้รูปร่างของฟีเจอร์ที่เราทำ Pattern นั้นสามารถแปรเปลี่ยนได้ตามที่ต้องการ Variable Pattern คือคำตอบสำหรับปัญหานี้ เราสารมารถที่ใส่ค่า Dimension ที่แปรเปลี่ยนไปได้โดยการเพิ่ม Dimension นั้นๆเข้าไปใน Pattern Table จากนั้นก็ทำการเปลี่ยนค่า หรือสามารถที่จะก็อปปี้ค่าจาก Spreadsheet มาใส่ได้

จะเห็นว่าการทำ Pattern นั้นจะช่วยให้เราสร้างรูปทรงชิ้นงานแบบทำซ้ำที่มีปริมาณมากได้อย่างรวดเร็วและยังสามารถที่จะเข้าไปปรับแก้ไขได้ง่ายอีกทั้งยังมีรูปแบบให้เลือกเล่นได้มากมายหลายรูปแบบเพียงพอต่อความต้องการที่จะนำมาใช้ในงานของเราได้

บทความโดย แอดโจ๊ก

สนใจ SOLIDWORKS

โทร 02-089-4145

ติดตามข่าวสารจากเรา

Facebook : https://www.facebook.com/metrosolidworks/?ref=br_rs

YouTube : https://www.youtube.com/user/MetroSolidWorks