ในโรงงานทั่วไปนั้นหรือในห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ จะมีการใช้งานตะกร้าพลาสติกในการขนของหรือขนสินค้า ตะกร้าจำนวนมากถูกซื้อเข้ามาในโรงงาน นำของที่จะขนวางลงบนตะกร้า ยกตระกร้าขึ้นละเคลื่อนย้ายตะกร้าไปยังจุดต่างๆตามที่ต้องการ รูปแบบงานนี้เป็นรูปแบบงานประจำที่จะเกิดขึ้นโดยตรงกับตัวตะกร้า แต่ความผิดพลาดของพนักงานหรือเครื่องจักรนั้นอาจเกิดขึ้นได้เสมอ ก่อให้เกิดการร่วงหล่นของตะกร้าจนกระแทกกับพื้น บ่อยๆครั้งเข้าตะกร้าที่เคยคงความแข็งแรงก็แตกหักลงไป ทำให้ต้องหาตะกร้าใบใหม่เข้าทดแทนใบเดิมที่เสียหาย ซึ่งกลายเป็นต้นทุนที่ต้องเพิ่มขึ้นในการผลิตชิ้นงาน

เมื่อตะกร้าตกลงกระแทกพื้นนั้น ความเร็วในการตกนั้นขึ้นตรงกับความสูงของการตก ตะกร้าที่ตกจากความสูง 1.3 เมตรนั้นทำให้เกิดความเร็วก่อนการกระแทกพื้นเท่ากับ 5 เมตรต่อวินาที ทาให้ระยะเวลาที่ตะกร้ากระแทกพื้นนั้นอยู่ในระดับเสี้ยววินาที ทำให้วัสดุไม่สามารถที่จะเสียรูปแบบปกติได้ทัน พฤติกรรมของวัสดุจะเปลี่ยนไปทางคุณสมบัติแบบเปราะมากขึ้น ทาให้เกิดการแตกหักได้จากการตกกระแทก

ในการวิเคราะห์การตกกระแทกนั้นจะใช้ระเบียบวิธีการเชิงตัวเลขแบบ Explicit Time Integral เข้ามาช่วยในการแก้ปัญหาหรือเรียกสั้นๆว่า Explicit ซึ่งกระบวนการนี้ใช้หลักการที่ว่า สถานะของชิ้นงานที่เวลา ?i+1 นั้นสามารถคำนวนหาได้จาก สถานะของชิ้นงานที่เวลาปัจจุบัน ?i ซึ่งกระบวนการแก้สมการนั้นจะมีลักษณะไปเดินไปข้างหน้า ไม่จำเป็นต้องวนลูปซ้ำเพื่อแก้สมการหาผลเฉลยที่มีความคลาดเคลื่อนตามที่ต้องการอย่าง Implicit Time Integral

ตะกร้าถูกวาดขึ้นในSOLIDWORKS โหมด Part และจากนั้นถูกนำไปประกอบในโหมด Assembly ในท่าที่กำลังตกอยู่เหนือพื้น พื้นที่ใช้ในการกระตกกระแทกนี้นั้นจะใช้ระนาบหลัก Front/Top/Right ในการทา Drop Test นั้นโดยทั่วไปจะให้ทิศทางแกน Y เป็นทิศทางของแรงโน้มถ่วงโลก ดังนั้นการตกของตะกร้าจึงวางตัวให้ตกอยู่ในทางทิศแกน Y โดยมีระนาบ Top เป็นพื้นสาหรับตกกระแทก

ใน SOLIDWORKS Simulation จะมีโมดูลให้เราสามารถจำลองการตกกระแทกหรือ Drop Test ได้ ซึ่งอยู่ใน Specialized Simulation

ซึ่งการเซ็ตค่าการทา Drop Test นั้นสามารถทำได้โดยง่าย เราสามารถที่กำหนดรูปแบบของการทำ Drop Test โดยสามารถเลือกได้ว่าจะให้ปล่อยตกจากที่สูงเท่าใดหรือกาหนดเป็นความเร็วของชิ้นงานก่อนการกระแทกได้

การสร้าง Mesh ให้กับชิ้นงานสาหรับการทำ Droptest นั้น เราสามารถสร้างได้แบบปกติ แต่ความละเอียดของ Mesh แลกมาด้วยกับการคำนวนที่นานขึ้น ซึ่งจาเป็นต้องหาขนาดอิลิเมนต์เบื้องต้นที่จะใช้ที่ทำให้การคำนวนใช้เวลาที่ต้องการและค่อยๆปรับความละเอียดให้มากขึ้นต่อไป

เนื่องการการตกกระแทกเกิดในช่วงเวลาระดับเสี้ยววินาที่อาจจะอยู่ในระดับ 10-3 ถึง 106

แต่ในความเป็นจริงที่เห็นเวลาจะผ่านไปอย่างรวดเร็วหลายวินาทีเมื่อเราหันไปมองชิ้นงานที่ตกลงมา ซึ่งเมื่อเรากาหนดช่วงเวลาที่จะวิเคราะห์ให้อยู่ในระดับวินาทีนั้นจะทำให้เกิด TimeStep จำนวนมหาศาลตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักล้านได้ สมมติให้ในหนึ่ง Timestep ใช้เวลาในการคำนวนหนึ่งวินาที นั้น จะใช้เวลาทั้งหมด 12 วันในการคำนวน Drop Test ที่เกิดขึ้น 1 วินาที ดังนั้นการกำหนดจานวน Timestep ที่จะดูผลนั้นควรใส่ให้เพียงพอต่อความต้องการวิเคราะห์ ขึ้นอยู่กับชนิดของปัญหานั้นๆ ซึ่งการกำหนดจานวน TimesTep นี้สามารถกำหนดได้ที่ Result Option > Solution Time After Impact โดยการจะกำหนดเวลาที่จะคำนวนลงไปเป็นหน่วย microsecond

ผลของการคำนวนนั้นจะแสดง Stress ที่เกิดขึ้นในตะกร้า ณ ตอนที่กระแทก จะเห็นได้ว่าเมื่อตะกร้ากระแทกนั้นจะเกิด Stress สูงขึ้นแบบเฉียบพลันที่บริเวณที่กระแทก จากนั้น Stress จะค่อย ๆ วิ่งไปตามโครงสร้างของตะกร้าซึ่งเรียกว่า Stress Wave และเมื่อ Stress ที่เกิดขึ้นสูงกว่าที่วัสดุนั้นจะทนได้ก็จะเกิดการแตกหักของชิ้นงานลงนั่นเอง

การแสดงผลนี้เราสามารถที่จะแสดงเป็นแบบ Animation ได้และยังสามารถที่จะสร้างเป็นไฟล์วิดีโอเพื่อนำมาใช้วิเคราะห์ต่อไปได้เช่นกันการทำ Drop Test ใน SOLIDWORKS Simulation นั้นสามารถที่จะทำได้โดยง่าย เพียงการเซ็ตท่าทางของชิ้นงานเมื่อตกลงพื้น กำหนดทิศทางการตก ความเร็วในการตกหรือความสูงในการตก ก็เพียงพอที่จะวิเคราะห์ปัญหาเหล่านี้ได้ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานทั้งหลายลดต้นทุนทั้ง จำนวนเงินและเวลาลงไปได้อย่างมาก