ในงานประเภทออกแบบบรรจุภัณฑ์ ขวด หรือแม้กระทั่งตัวถังรถต่าง ๆ ที่มีความซับซ้อนของผิวของชิ้นงานนั้นจำเป็นต้องมีผิวที่โค้ง อ่อนช้อย ดูลื่นไหลและมีความอิสระในรูปทรง ซึ่งคอนเซปต์เหล่านี้นั้นมันช่างแตกต่างจากสิ่งที่เป็น Parametric Modeling หรือการขึ้นรูปที่ใช้ตัวแปร พารามิเตอร์ต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง

การขึ้นรูปแบบที่เป็นอิสระนี้มักจะใช้กันในอุตสาหกรรมประเภทแอนนิเมชั่น เพราะด้วยความที่เป็นอิสระจริงสามารถใช้แสดงจิตนาการที่ส่งออกมาได้ ดังในรูปนั้นจะเห็นถึงชิ้นงานอย่างง่ายที่มีลักษณะผิวโค้งไปมา

ด้วยความเป็นพาราเมทริคของ SOLIDWORKS นั้นการจะทำชิ้นงานลักาณะดังภาพนั้นสามารถทำได้แต่ก็ต้องใชทักษะและเทคนิคการขึ้นรูปแบบผิวเข้ามาช่วย ซึ่งค่อนข้างใช้เวลาหลายนาทีในการสรา้งแต่หากใช้การขึ้นรูปแบบอิสระปล้วนั้น เราสามารถที่จะสร้างได้ภายในไม่เกินครึ่งนาที

ข้อด้อยอย่างหนึ่งของชิ้นงานที่สรา้งแบบอิสระนี้นั้นคือ ความประมาณ ซึ่งจะแตกต่างจาก SOLIDWORKS ที่เป็นประเภท ความแม่นยำ ในการที่จะรวมข้อแตกต่างทั้งสองเข้าด้วยกันนั้นจะช่วยให้การสรา้งชิ้นงานก้าวกระโดไปอีกขั้น การเปลี่ยนข้อมูลจากความประมาณให้เป็นความแม่นยำนั้นสามารถที่จะทำได้โดยการส่งผ่านข้อมูลตัวกลางที่เรียกว่า ไฟล์ STL (Stereolithography) ในโปรแกรมเช่น Blender นั้นเมื่อเราสรา้งชิ้นงานเสร็จแล้ว เราสามารถที่จะส่งออกไฟล์นั้นเป็น STL ได้ และ SOLIDWORKS นั้นสามารถที่จะรับไฟล์ STL นี้และเปิดขึ้นมาได้ แต่จะเป็นเพียงภาพกราฟฟิคเท่านั้น

การที่จะภาพกราฟฟิคนี้ให้เป็นแคดไฟล์ที่สมบูรณ์นั้นจะสกัดเส้นสเกตซ์ต่างที่จะใช้ในการขึ้นรูปชิ้นงานออกมา เพราะว่างานแบบพาราเมทริคนี้นั้นจะใชสเกตซ์เป็นพื้นฐานและค่อยทำการ เอ็กทรูชั่น ลอฟท์ ฯลฯ จนได้เป็นชิ้นงานที่สมบูรณ์

ต้องขอบคุณเครื่องมือใน SOLIDWORKS ที่สามารถสกัดเส้นเหล่านี้ออกมาได้ที่เรียกว่า Slicing (Insert > Slicing…) การหั่นบางๆหรือที่เรียกว่า Slicing นี้นั้นจะเป็นการสรา้งระนาบใดเข้ามาตัดชิ้นงาน จุดตัดระหว่างผิวกับระนาบใดๆแล้วนั้นจะเกิดเป็นเส้นขึ้นมา เส้นที่ได้นี้จะเป็นเส้นสเกตซ์ทั้งหมด

เราสามารถที่จะนำสเกตซ์เหล่านี้มาใช้งานในการขึ้นรูปได้ แต่จำเป็นต้องปรับเส้นสเกตซืบางในบางกรณีเพื่อให้สามารถขึ้นรูปได้จากความเป็นพาราเมทริคที่ยังมีข้อจำกัดของสมการอยู่ อย่างในรูปด้านล่างนี้จะเห็นถึงไฟล์ STL ที่นำเข้ามาจะเป็นรูปกระเบื้องสามเหลี่ยมที่ต่อกัน เมื่อนำมาทำ Slicer แล้วจะเกิดจุดต่าง ๆ มากมายเพราะเส้นขอบสามเหลี่ยมของไฟล์ STL นั่นเอง ดังนั้นเพื่อให้สามารถที่จะสร้างชิ้นงานได้ เราจำเป้นต้องปรับลดหรือเพิ่มจุดของเส้นสเกตซ์ที่ได้มาในบางตำแหน่งเพื่อให้เราขึ้นรูปต่อได้นั่นเองครับ

หากท่านใดต้องการเนื้อหาเพิ่มเติมสำหรับการทำงานลักษณะแบบนี้นั้นทางเรามีทีมงานที่คอยช่วยบริการให้คำปรึกษาแก่ท่าน ติดต่อมานะครับ

บทความโดย แอดโจ๊ก

ติดต่อเราได้ที่
โทร 02-089-4145 (จ-ศ 8.30 – 17.00 น.)
ติดต่อได้ทุกเวลาโทร 097-158-8174
LINE@ คลิก https://bit.ly/2yrNF24
เว็บไซต์ https://metrosystems-des.com/
YouTube https://www.youtube.com/user/MetroSolidWorks
Facebook Fanpage https://www.facebook.com/metrosolidworks/
Inbox มาเลยก็ได้น้า
รัก SOLIDWORKS สุด ๆ คลิกเลย https://www.facebook.com/groups/2076765539017446/