Time to Market กับความได้เปรียบในทางธุรกิจ
ทำไมรถยนต์หรือโทรศัพท์มือถือถึงออกรุ่นใหม่ ๆ ออกมาได้เร็วกว่าเดิมมาก?
ทำไมหลายบริษัทใหญ่ ๆ ถึงยอมจ่ายเงินลงทุนมหาศาลเพียงเพื่อประหยัดเวลาในการผลิตสินค้า?
ทำไมจึงต้องแข่งกันเอาสินค้าเข้าสู่ตลาด?
จริง ๆ แล้วเราควรจะนำสินค้าเข้าสู่ตลาดเร็วที่สุดเสมอไปหรือไม่?
คำถามเหล่านี้เกี่ยวข้องกับ Time to Market ทั้งสิ้น Time to Market ความหมายตรงตัวเลยก็คือระยะเวลาที่นำสินค้าเข้าสู่ตลาดตั้งแต่การออกแบบ การผลิต การทดสอบตัวต้นแบบ การสำรวจตลาด จนกระทั่งการนำสินค้าวางจำหน่าย เปิดให้จอง หรือออกสู่ท้องตลาด
Time to Market สำคัญอย่างไร
Time to Market ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงในการทำธุรกิจ เพราะถ้าหากปล่อยสินค้าออกสู่ท้องตลาดช้าเกินไปก็อาจจะทำให้สูญเสียโอกาสในการทำรายได้ หรือเกิด “ต้นทุนค่าเสียโอกาส” นั่นเอง
แล้วอะไรคือ Time to Market ที่ดี?
Time to Market ที่เหมาะสมจะสอดคล้องกับ Trend ของโลกและความต้องการของผู้บริโภค เพราะถ้าหากเราเข้าใจว่ายิ่งปล่อยสินค้าเร็ว ยิ่งดี อาจทำให้ปล่อยสินค้า “เร็วเกินไป” โดยที่ผู้บริโภคยังไม่คุ้นชินกับสินค้านั้น ๆ บวกกับสภาพแวดล้อมหลาย ๆ เช่น เทคโนโลยี ยังไม่พร้อมที่จะรองรับผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ก็จะทำให้การปล่อยสินค้าล้มเหลวและขายไม่ได้ แต่ถ้าหากปล่อยสินค้าช้าเกินไปก็อาจจะกลายเป็นสินค้าที่ล้าสมัย หรือโดนคู่แข่งแซงหน้า เป็นต้น
แต่อย่างไรก็ตาม อย่างที่ได้กล่าวข้างต้นว่าโทรศัพท์มือถือหรือแม้กระทั่งรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ มีการพัฒนาและออกใหม่อยู่ทุกปี ซึ่งทุกแบรนด์ไม่ได้มีเพียงแค่ Product Line เดียว แต่มีหลายรุ่น หลายแบบ และ Trend ในปัจจุบันบริษัทส่วนใหญ่เห็นคุณค่าของเวลา จึงยอมจ่ายหนักเพื่อ “ลดเวลา” ในการพัฒนาสินค้า ดังนั้นแล้วก็คงไม่ผิดนัก หากผู้ประกอบการจะตั้ง Mindset ในการตื่นตัว คิดค้นไอเดียใหม่ ๆ และเร่งพัฒนาสินค้า บนพื้นฐานที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค
แล้วปัจจัยใดบ้างที่จะช่วยลด Time to Market?
อย่างที่ได้ให้นิยามของ Time to Market ไป จะเห็นได้ว่า Time to Market นั้นเกี่ยวข้องกับ “ทุกกระบวนการ” ของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ตั้งแต่ร่างไอเดีย ไปจนถึงขายสินค้า ดังนั้นแล้วการลด Time to Market ก็คือการพยามลดเวลาในทุก ๆ ขั้นตอน ลดงาน Routine งานเอกสารต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็น โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้
1. เซ็ตระบบ Automation
ระบบ Automation คือระบบที่เข้ามาช่วยผ่อนแรงของมนุษย์ด้วยการเข้ามาทำงานแทน แต่ละธุรกิจ แต่ละองค์กร มีจุดที่สามารถทำ Automation ได้แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น งบประมาณ ความเหมาะสม และสภาพแวดล้อมขององค์กร
แต่อย่างไรก็ตามเพื่อลด Time to Market ให้เหลือน้อยที่สุด ก็ควรจะเซ็ตระบบ Automation ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำให้ เช่น มีระบบช่วยจัดการเอกสาร จัดการข้อมูลผลิตภัณฑ์ ตัวช่วยรัน Workflow อย่าง Product Data Management มีตัวช่วยเก็บข้อมูลอย่าง IoT หรือระบบ CRM เพื่อให้ผู้ออกแบบสามารถใช้เวลาไปกับงานออกแบบได้อย่างเต็มที่
2. ใช้เทคโนโลยีและประโยชน์จากโลกออนไลน์
เทคโนโลยีต่าง ๆ ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเรา หากธุรกิจสามารถจับได้ถูกจุด ก็จะสามารถนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อลด Time to Market ได้ และช่องทางออนไลน์ เป็นช่องทางสำคัญที่จะส่งข้อมูลของสินค้าไปสู่ผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว กว้างขวาง และตรงจุด
รถยนต์บางยี่ห้อ ยังไม่ได้ผลิตออกมาเป็นคันจริง หรือแม้กระทั่งยังไม่มี Prototype เป็นชิ้นเป็นอัน แต่สามารถออกแบบรถยนต์เป็นภาพ 3D ให้สมจริงด้วยโปรแกรม Visualize และทำอนิเมชันให้ดูโฉบเฉี่ยว น่าซื้อได้
3. สร้าง Rapid Prototype
Prototype คือ ต้นแบบของชิ้นงาน ยกตัวอย่างเวลาที่เราจะผลิตหูฟัง หลังจากที่ออกแบบและร่างไอเดียแล้ว ก็จะมีการทำตัวต้นแบบของหูฟังก่อน เพื่อทดสอบต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งรถยนต์ก็ต้องมีการทำ Prototype ด้วยเช่นกัน เดิมทีการทำ Prototype เป็นสิ่งหนึ่งที่ใช้ต้นทุนมหาศาล ไม่เพียงแค่ตัวเงินเท่านั้น แต่ใช้เวลานานด้วยเช่นกัน
Rapid Prototype จึงเข้ามามีบทบาทในการลด Time to Market จากการทำ Prototype แบบเดิม Rapid แปลว่ารวดเร็ว Rapid Prototype จึงหมายถึง Prototype ที่ทำขึ้นมาได้เร็ว จากกรณีศึกษาของรถยนต์ยี่ห้อหนึ่งพบว่าการทำ Rapid Prototype ช่วยลดเวลาในการสร้างได้จาก 120 วัน เหลือเพียง 20 วันเท่านั้น
นอกจากนี้การทำ Rapid Prototype ยังมีข้อดีอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น การได้ให้ลูกค้าได้ทดลองใช้สินค้าก่อน เพราะ Rapid Prototype สามารถสร้างขึ้นมาให้คล้ายคลึงกับของจริงและใช้งานได้จริง เช่น คอนโซลเกม ที่ให้เกมเมอร์ได้ทดลองจับลองเล่นก่อนผลิตขายจริง ทำให้ทราบ Feedback จากลูกค้าได้เร็ว (ลดขั้นตอนในการทำวิจัยตลาด)
หรือที่มากไปกว่านั้น Rapid Prototype สามารถช่วย “ลัดคิว” ในการนำสินค้าเข้าสู่ตลาดได้ อย่างเช่นในกรณีที่ผลิตสินค้าไม่ทัน แต่สามารถนำตัวแบบไปวางโชว์แบบสมจริง ให้ลูกค้าได้เห็นหน้าตาก่อนได้
และเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยสร้าง Rapid Prototype ก็คือ 1. 3D Scan ที่สามารถสแกนชิ้นงานสามมิติและเก็บข้อมูลได้ 2. โปรแกรม CAD ที่ช่วยออกแบบสามมิติบนจอคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรม SOLIDWORKS และ 3. 3D Printer ที่สามารถพิมพ์งานออกมาเป็นชิ้นงานสามมิติได้เลย ซึ่งปัจจุบัน 3D Printer เป็นที่นิยมในการทำ Rapid Prototype มากยิ่งขึ้น
และนี่ก็คือเรื่องราวของ Time to Market ที่จะทำให้เราได้เปรียบในการทำธุรกิจท่ามกลางการแข่งขันที่สูงเช่นนี้ได้ ทีมงาน Design Engineering Solution ของ Metro Systems เป็นอีกหนึ่งทีมที่พร้อมจะ Support ทุกธุรกิจให้ประหยัด Time to Market ที่มีทั้ง IoT, 2D-3D CAD, PDM Program และเครื่องพิมพ์สามมิติในการลดขั้นตอนการทำงานทุกอย่างของคุณ สามารถติดต่อเพื่อปรึกษาได้ที่เบอร์ 02-089-4145
บทความโดย กาญจน์ศิริ เพ็งชัยเจริญ
ติดต่อเราได้ที่
เบอร์ 02-089-4145
LINE@ คลิก https://bit.ly/2yrNF24
Email : Sales-DES@Metrosystems.co.th
Facebook : https://www.facebook.com/metro3dprint/
YouTube : https://bit.ly/2IugSvk
ขอใบเสนอราคา : https://metrosystems-des.com/3d-printers/get-quote/
IG : metro3dprint