Joint หรือ ข้อต่อนั้นเป็นสิ่งสำคัญในการเชื่อมต่อชิ้นงานเข้าด้วยกันเป็นระบบใหญ่ โดยข้อต่อนี้จะเป็นสิ่งที่กำหนดความอิสระในการเคลื่อนที่ของชิ้นงาน หรือที่เรียกว่า Degree of freedom ซึ่งโดยทั่วไปแล้วข้อต่อนี้จะมีด้วยกันอยู่ 5 รูปแบบหลักดังนี้ (จริงๆแล้วมีมากกว่านี้ แต่สามารถที่จะใช้ Joint รวมกันทำให้เกิดเป็น Joint ที่เหลือได้)

 

  • Fixed Joint หรือข้อต่อแบบตรึงแน่นนั้นจะทำการยึดชิ้นงานให้ติดอยู่ด้วยกันแบบทากาวยึดติดหรือเชื่อมติด ชิ้นงานสองชิ้นที่ใส่ข้อต่อแบบนี้ไว้จะเคลื่อนที่ติดกันไปเสมอ

รูปภาพ

  • Revolution Joint หรือข้อต่อแบบบานพับประตู บานพับหน้าต่าง จะสามารถหมุนรอบแกนบานพับได้เท่านั้น และไม่สามารถเคลื่อนที่ในทิศทางตามแนวแกนได้

  • Translation Joint หรือข้อต่อแบบเคลื่อนที่ได้ในหนึ่งทิศทาง ซึ่งชิ้นงานจะยืดออกหรือหดเข้าได้เพียงหนึ่งทิศทางการเคลื่อนที่เท่านั้น

รูปภาพ

  • Spherical Joint หรือข้อต่อแบบหมุนได้รอบ โดยข้อต่อแบบนี้มักจะปรากฏในตัวต่อหุ่นยนต์ที่ทำให้แขน ขา มือของหุ่นยนต์นั้นขยับได้เหมือนธรรมชาติ

รูปภาพ

  • Hook Joint หรือข้อต่อแบบอ่อน หรืออีกชื่อหนึ่งที่รู้จักกันคือ Universal Joint ถูกใช้กันมากในการส่งถ่ายกำลังของรถ

ทำการวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของชิ้นงานแล้ว เราจะสามารถทำได้อย่างไร คำตอบง่ายๆก็คือ จริงๆนั้นใน SOLIDWORKS นั้นมีข้อต่อให้อยู่แล้วจากการทำงานประกอบ การผสมผสานกันระหว่าง Constraint ของงานประกอบนั้นทำให้เกิดข้อต่อขึ้นมาโดยอัติโนมัติ อย่างเช่นการประกอบชิ้นงานโดยใช้ Constraint แบบ Concentric นั้นจะทำให้เกิดข้อต่อแบบ Revolute Joint โดยอัติโนมัติ และยังทำให้เกิดข้อต่อแบบ Translation Joint ได้ถ้าล็อคทิศทางการหมุน โดยตารางด้านล่างนี้จะแสดงถึงรูปแบบการประกอบชิ้นงานที่ทำให้เกิดข้อต่อ 5 รูปแบบดังกล่าว ซึ่งในตารางนี้จะเห็นได้ว่า เราสามารถสร้างข้อต่อขึ้นมาได้แม้ใช้การประกอบเพียงครั้งเดียว หรือจะผสมผสานการประกอบหลายๆรูปแบบขึ้นมาจนกลายเป็นข้อต่อที่ซับซ้อนขึ้นได้

รูปภาพ

ในการวิเคราะห์การเคลื่อนที่ใน SOLIDWORKS นั้นจะใช้การ suppress งานประกอบที่มีอยู่เพื่อให้ชิ้นงานแต่ละชิ้นเกิดข้อต่อขึ้นมาหรืออีกนัยหนึ่งคือสามารถเคลื่อนที่ได้ ซึ่งการวางแผนการประกอบชิ้นงานที่ดีนั้นจะทำให้การวิเคราะห์การเคลื่อนที่สามารถทำได้ง่ายและลดโอกาสที่จะเกิดความเสียหายหรือเออเร่อได้อย่างดีครับ