การใช้ Performance Evaluation Tool ในโหมด Part

ชิ้นงานที่ซับซ้อน ในงานมีที่จำวนชิ้นงานมากๆ จำนวนเยอะ เช่นในโครงสร้างอาคาร ชิ้นส่วนเครื่องยนต์เรามักจะเจอปัญหาว่าทำไมมันช้าหรืออืดและเราก็ไม่รู้สาเหตุว่าจริงๆแล้วมันช้าเพราะอะไร และสิ่งหนึ่งที่จะช่วยท่านในการตรวจสอบสาเหตุเหล่านี้ได้นั้นก็เป็นเครื่องมืออันหนึ่งที่ไม่ค่อยมีใครใช้แต่มันมีประโยชน์มากที่จะช่วยให้เราเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งก็คือ Performance Evaluation Tool Performance Evaluation Tool 1 ซึ่งจะใช้งานกันอย่างไรนั้นเรามาดูกันครับ

เราสามารถเรียกใช้ Performance Evaluation ได้จากการไปที่แถบเครื่องมื่อ Evaluation > Performance Evaluation Tool ได้เลยครับ เราสามารถเรียกใช้ได้ทั้งที่อยู่ในโหมด Part และ โหมด Assembly

ชิ้นงานชิ้นหนึ่งๆนั้นถูกสร้างจากการสเกตซ์ ฟีเจอร์ ดาตั้ม ต่างหลายสิบหลายร้อยจนถึงหลายพันขั้นตอนประกอบรวมกันจนเป็นชิ้นงานที่เราต้องการ เมื่อเราต้องการแก้ไขฟีเจอร์หนึ่งๆ เราก็จะใช้ Rebuild ช่วยในการทำให้การแก้ไขนั้นมันอัพเดตฟีเจอร์ทั้งหมดที่ลิ้งกับฟีเจอร์ที่เราทำการแก้ไข และบางครังเราก็จะเจอว่าชิ้นงานนั้นมันใช้เวลา Rebuild นาน การใช้ Performance Evaluation นั้นจะทำให้เรารู้ว่าฟีเจอร์ไหนที่ใช้เวลาในการ Rebuild นานๆ เราจะได้หลีกเลี่ยงการใช้ฟีเจอร์นั้นแล้วใช้ฟีเจอร์อื่นๆที่เร็วกว่าในการสร้างชิ้นงาน หรือจะเก็บฟีเจอร์นั้นไว้สร้างท้ายๆของโมเดลทรีก็ได้ อย่างชิ้นงานลูกกรงนี้จะเห็นว่า ฟีเจอร์ Combine1 นั้นใช้เวลาไปถึง 83% ของเวลาที่ใช้ในการ Rebuild ทั้งหมด รองลงมาคือฟีเจอร์ LPattern1 ซึ่งการสร้างชิ้นงานสไตล์ Bulti Body

Performance Evaluation Tool 2
Performance Evaluation Tool 3

ลองดูตัวอย่างอื่นกันต่อครับ

อย่างชิ้นงานหลอดไฟนี้ฟีเจอร์หลักที่ใช้ในการขึ้นรูปชิ้นงานนั้นส่วนใหญ่คือการ Extrude ดังนั้นการ Rebuild ส่วนใหญ่จึงเสียเวลาไปกับส่วนฟีเจอร์นี้

Performance Evaluation Tool 5

ชิ้นงานคอนนเคเตอร์นี้จะเห็นได้ว่ามีการใช้ฟีเจอร์ Pattern เข้ามาช่วยในการสร้างชิ้นงานบางตำแหน่ง เช่นรู ตัวพิน ลายฝาปิดเป็นต้น และเป็นอีกครั้งที่เราจะเห็นว่าฟีเจอร์ Pattern นั้นกินเวลาในการ Rebuild มากที่สุดครับ

Performance Evaluation Tool 6

ชิ้นงานสายพานลำเลียงนี้มีการใช้ฟีจอร์ Combine และ Pattern เข้ามาช่วยในการสร้างและแน่นอนฟีเจอรืทั้งสองฟีเจอร์นี้ก็กินเวลาในการ Rebuild มากที่สุดของชิ้นงาน

Performance Evaluation Tool 7

ชิ้นงานกรอปครอบไฟนี้ส่วนใหญ่แล้วจะขึเนรูปด้วยฟีเจอร์พื้นฐานคือ Extrude  Fillet และ chamfer ซึ่งความซํบซ้อนของขอบที่ใช้ทำ Fillet นั้นในบางมุม บางรอยต่อนั้นทำให้เกิดความยากในการสร้าง จรึงทำให้เวลาในการ Rebuild สำหรับ Fillet นั้นสูง แต่ด้วยการสร้างชิ้นงานที่ใช้ฟีเจอร์พื้นฐานส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยพบปัญหาการกระโดดของเวลา Rebuild

Performance Evaluation Tool 8

ไฟ LED ที่ขึ้นรูปด้วยฟีเจอร์พื้นฐานแต่มีการทำ Multi Body ทำให้ต้องทำ Combine เพื่อรวมเป็นชิ้นงานชิ้นเดียว จึงทำให้ฟีเจอร์ Combine นั้นกินเวลาในการ Rebuild มากที่สุด

Performance Evaluation Tool 9

หัว USB นั้นสร้างจากฟีเจอร์พื้นฐานและมีการทำ Pattern และ Mirror ตัว Pattern เข้ามาช่วยในการสร้างทำให้เวลาในการ Rebuild นั้นไปอยู๋กับ Mirror และ Pattern ส่วนใหญ่

จากหลายตัวอย่างที่แสดงมานี้จะเห็นได้ว่า การเลือกใช้ฟีเจอร์ในการสร้างชิ้นงานนั้นมีผลต่อเวลา Rebuild หรือเวลาในการแก้ไขชิ้นงานค่อนข้างมาก การเลือกใช้ฟีเจอร์ Combine และ Pattern มากในชิ้นงานที่ซับซ้อนนั้นจะทำให้การแก้ไขชิ้นงานนของท่านนั้นนั้นหยุดชะงักและเกิดการค้างได้เพราะต้องใช้เวลาในการ Rebuild ที่นาน การเลือกทำชิ้นงานที่มีการรวมกันของ Fillet หลายๆอันเข้าด้วยกันเช่นขอบหรือมุมนั้นก็ทำให้ใช้เวลาในการ Rebuild ปานกลาง ทางที่ดีที่สุดในการลดเวลาในการ Rebuild ลง และกระจายเวลา Rebuild นั้นไปให้ฟีเจอร์อื่นทั่วๆนั้นก็สามารถที่จะทำได้โยการสร้างชิ้นงานจากฟีเจอร์พื้นฐานคือ Extrude Revolve Sweep และ Loft ก็สามารถลดอาการค้างหรืออาการ Hang ได้ครับ ลองปรับใช้กันดูนะครับ