รีวิว Material น่าใช้ กับ 3D Printer จะมีวัสดุไหนที่น่าสนใจบ้าง
รีวิว Material น่าใช้ กับ 3D Printer จะมีวัสดุไหนที่น่าสนใจบ้าง
องค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของการพิมพ์สามมิติก็คือ “วัสดุที่ใช้พิมพ์” เพราะวัสดุที่ใช้พิมพ์นั้นก็คือเนื้อของตัวโมเดลที่พิมพ์ออกมาได้ ซึ่งส่งผลต่อความแข็งแรง ผิวสัมผัส ความสายงาม ฯลฯ อย่างไรก็ตาม การจะเลือกวัสดุที่เหมาะสมที่สุด ก็ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในงานพิมพ์ ว่าต้องการนำไปใช้กับงานใด ในบทความนี้เราจะมาแนะนำวัสดุหรือ Filament ที่น่าสนใจ และเป็นที่นิยมในการพิมพ์งานสามมิติ ว่ามีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
PLA (Polylactic Acid)
PLA หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าโพลิแอคติคแอซิด เป็นพลาสติกชีวภาพที่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ PLA เป็นพลาสติกที่ได้มาจากพืช ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
ข้อดี
– พื้นผิวมีคุณภาพที่ดี
– มีความแข็งแรง
– ทนความร้อนได้ 50 องศาเซลเซียส
– ปรินท์ได้ง่าย
ข้อเสีย
– ความยืดหยุ่นน้อย ไม่เหมาะกับงานดึงยืด
– ไม่เหมาะกับงานที่ใช้กลางแดด เพราะจะทำให้เสียรูปได้
ตัวอย่างงานพิมพ์ : งานโมเดลที่โชว์รายละเอียด เช่น โมเดลบ้าน หุ่นยนต์
ส่วนวัสดุ Tough PLA จะมีความแข็งแรง ทนต่อแรงกระแทกและแรงดึงได้มากกว่าวัสดุ PLA และยังสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติเช่นกัน
ABS (Acrylonitrile Butadiene Styrene)
ABS เป็นวัสดุที่ถึงแม้จะแข็งแรงน้อยกว่า PLA แต่ก็มีความเหนียว งอได้เล็กน้อย รับแรงกด แรงดัดต่าง ๆ ได้ ABS เป็นพลาสติกที่ได้มาจากน้ำมัน และมีคุณสมบัติทางกลที่ดี ทนต่อความร้อนได้สูง เหมาะกับการใช้งานในเครื่องจักร อุตสาหกรรม ตัวอย่างงานพิมพ์จากวัสดุ ABS เช่น ตัวต่อ LEGO
ข้อดี
– เหมาะกับงานด้านอุตสาหกรรม
– ทนความร้อนได้ถึง 100 องศาเซลเซียส
– มีความยืดหยุ่นที่ดี
ข้อเสีย
– มีกลิ่นเหม็นและแรง ควรวางเครื่องพิมพ์ในที่ที่มีอากาศถ่ายเท
– หดตัวได้ง่าย หากความร้อนไม่สม่ำเสมอ
ตัวอย่างงานพิมพ์ : งานที่ใช้ในเชิงเครื่องกล เช่น เฟือง ข้อต่อ
Nylon
ไนลอน (Nylon) เป็นพลาสติกสังเคราะห์ชนิดหนึ่งที่มีการใช้งานอย่างหลากหลาย เช่น เชือก เส้นใยทอผ้า โอริง ฟิล์ม ปะเก็น ฯลฯ ในช่วงแรก ๆ ไนลอนยังมีข้อบกพร่องในการใช้งานอยู่บ้าง เช่น การหดตัว การดูดความชื้นในอากาศสูง แต่ไนลอนก็ถูกพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้การหดตัวลดลง พิมพ์ง่ายขึ้น ใช้อุณหภูมิที่ต่ำลง เป็นต้น
ข้อดี
– มีความเหนียว ทนแรงดัด ทนแรงกระแทกได้ดี
– ทนความร้องได้สูงถึง 80 องศาเซลเซียส
– ทนต่อรอยขีดข่วน
ข้อเสีย
– ดูดความชื้นได้ง่าย
– ปล่อยควันระหว่างพิมพ์งาน
ตัวอย่างงานพิมพ์ : งานชิ้นส่วนที่ทนการสึกหรอ เช่น สลัก เพลา
CPE (Co-polyester)
เส้นพลาสติก CPE มีความมันวาว เหนียว สามารถบิดงอได้ ทนต่อแรงกระแทกได้ดี เหมาะกับการพิมพ์ชิ้นงานด้านวิศวกรรม เช่น เฟือง ชิ้นส่วนกลไก ชิ้นส่วนพวกชุดจับ หรือ Jig และ Fixture ที่เจอสารเคมี
ข้อดี
– ทนต่อสารเคมี
ข้อเสีย
– ราคาค่อนข้างสูง
ส่วน CPE+ เป็นวัสดุที่พัฒนามาจาก CPE ให้สามารถทนความร้อนได้มากขึ้น จึงใช้กับระบบน้ำมันในห้องเครื่องยนต์ได้ เพราะทนความร้อนในห้องเครื่องได้ เช่น รางหัวฉีด
ตัวอย่างงานพิมพ์ : ชิ้นงานที่ทนต่อสารเคมี ต้องสัมผัสกับสารเคมีและเชื้อเพลิง เช่น ท่อน้ำมัน
สรุปแบบสั้น ๆ
PLA สวย
ABS แข็งแรง
Nylon ทนสึก
CPE ทนเคมี
นอกจากนี้ยังมีวัสดุอื่น ๆ เช่น PP ที่มีความเหนียว TPU ที่เป็นยางนิ่ม หากต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ https://metrosystems-des.com/3d-printers/materials/
หรือโทรศัพท์ติดต่อได้ที่ 02-089-4145 และติดตามช่อง YouTube เพื่ออัปเดตความรู้ด้าน 3D Printer ได้ที่ https://bit.ly/2IugSvk
บทความโดย กาญจน์ศิริ เพ็งชัยเจริญ
ติดต่อเราได้ที่
เบอร์ 02-089-4145
LINE@ คลิก https://bit.ly/2yrNF24
Email : Sales-DES@Metrosystems.co.th
Facebook : https://www.facebook.com/metro3dprint/
YouTube : https://bit.ly/2IugSvk
ขอใบเสนอราคา : https://metrosystems-des.com/3d-printers/get-quote/
IG : metro3dprint
#ultimaker #3d #3dprint #3dprinter #ultimakerS5probundle #เครื่องพิมพ์สามมิติ