6 วิธีในการลดต้นทุนการผลิตด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ Ultimaker
มาแล้วจ้า! ตามสัญญา กับ 6 วิธีในการลดต้นทุนการผลิตด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ในครั้งนี้เราจะมาแชร์กันว่า การมีเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ติดไว้สักเครื่องที่โรงงาน นอกจากจะช่วยให้อุ่นใจคลายเหงา ยามไม่มีอะไรจะทำ แค่เปิดเครื่องให้น้อง Run ไป ได้ยินเสียงน้องร้องก็อุ่นใจแล้ว นอกจากนี้ยังสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตไปได้อย่างไรบ้าง!?
1.การพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยการสร้างต้นแบบอย่างเร็ว
หรือ Rapid Prototyping สำหรับการสร้างชิ้นงานต้นแบบสามารถช่วยให้บริษัทต่าง ๆ ลดต้นทุนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ได้อย่างมาก เนื่องจากการพิมพ์ 3 มิติ สามารถพิมพ์ผลิตภัณฑ์ซ้ำได้หลายครั้งและรวดเร็วจนกว่าจะได้ผลิตภัณฑ์ที่สมบูรณ์ โดยมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าวิธีการผลิตแบบเดิมมากเนื่องจากข้อบกพร่องหรือจุดที่ผิดพลาดของผลิตภัณฑ์สามารถแก้ไขและปรับปรุงได้ตั้งแต่ช่วงต้นของขั้นตอนการออกแบบ ซึ่งจะช่วยลดโอกาสการเจอข้อผิดพลาดในตอนท้ายก่อนที่จะ Final ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ๆ
2. ลดต้นทุนวัสดุ
การลดต้นทุนวัตถุดิบเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ควรพิจารณาการพิมพ์ 3 มิติให้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการผลิต เนื่องจากวัตถุดิบในการพิมพ์ 3 มิติจะถูกเพิ่มทีละชั้นและใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น กระบวนการพิมพ์ 3 มิตินี้จึงช่วยลดการสูญเสียวัสดุได้อย่างมาก การพิมพ์ 3 มิติไม่เหมือนกับวิธีการผลิตแบบเดิม หรือ subtractive manufacturing ที่จะนำเอาวัตถุดิบที่เป็นก้อนๆนึงมาผ่านกระบวนการ เจาะ ไส กลึง กลัด ซึ่งจะต้องสูญเสียวัตถุดิบไปมาก กว่าจะได้ 1 ชิ้นงาน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการพิมพ์ 3 มิติ เป็นแบบ Additive Manufacturing ในลักษณะการเติมเนื้อเข้าไป จึงจะทำให้เกิดวัสดุเหลือใช้มากกว่า และเป็นการลดของเสียได้อีกด้วย
3. โอกาสในการออกแบบโมเดลใหม่ ๆ
การพิมพ์ 3 มิติช่วยให้นักออกแบบผลิตภัณฑ์และวิศวกรทดลองออกแบบที่มีลักษณะซับซ้อนซึ่งไม่สามารถทำได้ด้วยวิธีการผลิตอื่นๆ และนี่เป็นอีก 1 วิธี ในการประหยัดต้นทุนโดยที่ยังคงรักษานวัตกรรมของผลิตภัณฑ์ไว้
ตัวอย่างหนึ่งในที่ทำงานคือในส่วนของการรวมชิ้นส่วน ซึ่งการออกแบบสำหรับการผลิตแบบ Additive Manufacturing สามารถประหยัดต้นทุนได้จริง ในขณะที่การผลิตแบบดั้งเดิมต้องการผลิตส่วนประกอบหลายชิ้นและประกอบเข้าด้วยกันเพื่อสร้างชิ้นส่วนสุดท้าย การพิมพ์ 3 มิติมีแนวทางที่แตกต่างออกไป เพราะชิ้นส่วนที่ทำจากส่วนประกอบที่แยกจากกันหลายชิ้นสามารถพิมพ์เป็นชิ้นส่วนรวมชิ้นเดียวได้ การใช้เทคนิคการรวมชิ้นส่วนในลักษณะนี้ช่วยให้ผู้ผลิตสามารถประหยัดต้นทุนได้อย่างมาก ซึ่งรวมถึงค่าแรงที่เกี่ยวข้องจากงานประกอบ ลดต้นทุนสินค้าคงคลัง และค่าบำรุงรักษาที่ต่ำลง
4. การผลิตในปริมาณน้อย
บ่อยครั้งที่ปริมาณการผลิตไม่สมเหตุสมผลกับการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรของการผลิตที่มีราคาแพงมาก ด้วยเหตุนี้ เทคนิคการผลิตแบบทั่วไป เช่น การฉีดขึ้นรูป จึงไม่เหมาะสำหรับการผลิตในปริมาณที่ไม่เยอะ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการพิมพ์ 3 มิติได้พัฒนาไปสู่เทคโนโลยีสำหรับการผลิต จึงเป็นการโอกาสใหม่ๆ สำหรับวิธีที่ประหยัดต้นทุนในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่จำนวนที่ไม่เยอะ เพราะสามารถพิมพ์ออกมาเพื่อเป็น End use part , Jig fixture หรือ Tools ต่างๆเพื่อนำไปใช้งานได้เลย
5. ลดต้นทุนเครื่องมือ
ต้นทุนการผลิตสามารถลดลงได้อย่างมากด้วยการผลิตการพิมพ์ 3 มิติเช่น จิ๊กและฟิกซ์เจอร์ อุปกรณ์จับยึดและฟิกซ์เจอร์มักถูกจ้างให้ Supplier เป็นผู้จัดหา ซึ่งจะถูกกลึงด้วยเครื่องจักร CNC หรือเชื่อมและประกอบอีกที อย่างไรก็ตาม การพิมพ์จิ๊กและฟิกซ์เจอร์ ด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ภายในโรงงานสามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นทางเลือกที่รวดเร็วและถูกกว่ามาก
6. ชิ้นส่วนอะไหล่
ในอุตสาหกรรมจำนวนมากจะมีสต็อกอะไหล่ที่มีความต้องการใช้งานไม่บ่อยและมีความต้องการที่ไม่เยอะ ซึ่งจะทำให้มีค่าใช้จ่ายในการรักษาหรือค่าใช้จ่ายในการดูแลสินค้าคงคลังที่สูงขึ้น ด้วยการพิมพ์ 3 มิติ ไม่จำเป็นต้องเก็บสินค้าคงคลังสำหรับชิ้นส่วนอะไหล่เลย การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ทำให้ผู้ผลิตสามารถผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ได้ตามความต้องการใช้งาน และลดจำนวนชิ้นส่วนที่จัดเก็บไว้ ซึ่งจะช่วยทำให้ต้นทุนสินค้าคงคลังลดลงไปได้อย่างมาก
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับ 6 วิธีที่เรานำมาแบ่งปันกันในครั้งนี้ การลดต้นทุนในการผลิตเป็นอีกปัจจัยหนึ่งสิ่งที่สำคัญมากๆ เพราะจะเป็นการเพิ่มผลประกอบการ หรือผลกำไรให้กับบริษัท เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของรายได้ของบริษัทหรือองค์กร และในปัจจุบันนี้ก็มีหลากหลายวิธี รวมถึงการลงทุนทางด้านการพิมพ์ 3 มิติก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกด้วยเช่นกัน เมโทรซิสเต็มส์ มี Solution ทางด้านการพิมพ์ 3 มิติ สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถติดต่อได้ในช่องทางด้านล่างค่ะ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:
บริษัท เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
Metro Systems Corporation CO., Ltd.
คุณอุบล เบอร์โทร 02-089-4145
E-mail sales-des@metrosystems.co.th
Website: www.metrosystems-des.com
Facebook: www.facebook.com/metrosolidworks
Line@ : @metrodes
บทความโดย :เจนนี่สุข
เครดิตภาพ :https://ultimaker.com/