ทำความรู้จักกับ Additive Manufacturing หรืออุตสาหกรรมการผลิตแบบเติมเนื้อ
หลายคนคงทราบดีว่า 3D Printing เป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทต่ออุตสาหกรรมทั่วโลก และวันนี้เราจะมาเจาะกันให้ลึกลงไป โดย 3D Printing จัดเป็นเทคโนโลยีแบบ Additive Manufacturing ซึ่งวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเทคโนโลยีชนิดนี้กัน
Additive Manufacturing คืออะไร?
คำว่า Additive (adj.) แปลว่า ซึ่งเพิ่มเข้าไป ส่วนคำว่า Manufacturing แปลว่า การผลิต พอรวมสองคำนี้เข้าด้วยกัน ก็ได้จว่า Additive Manufacturing คือ การผลิตแบบเติมเนื้อเข้าไป นั่นเอง เทคโนโลยีนี้เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า Rapid Prototyping หรือแปลว่า “การสร้างต้นแบบอย่างรวดเร็ว”
เว็บไซต์ Report & Data ได้ทำการรวบรวมสถิติและคาดการณ์อัตราการเติบโตของตลาดที่เป็น Additive Manufacturing ว่าจะเติบโตถึง 14.4% ในปี 2027 ซึ่งการเติบโตอย่างรวดเร็วมาจากการใช้ Material ในการปรินท์ที่หลากหลาย ตั้งแต่โลหะ พลาสติก และเซรามิก โดยนำไปใช้ความคู่กับเทคโนโลยีเดิมอย่าง Subtractive Manufacturing
เปรียบเทียบระหว่าง Additive Manufacturing vs Subtractive Manufacturing
เทคโนโลยีสองชนิดนี้จัดได้ว่าอยู่ตรงกันข้ามกัน โดย Additive จะเป็นการเติมเนื้อเข้าไป ส่วน Subtractive จะเป็นการตัดเนื้อวัสดุออก เช่นพวกงาน CNC, งานตัด, งานเจาะ, งานกลึง หรืองานไส เป็นต้น
หลักการของ Subtractive Manufacturing คือจะต้องมีชิ้นงานใหญ่ ๆ ก่อน จากนั้นจึงทำการตัดเนื้อออกจนกลายเป็นรูป ตรงนี้จะทำให้ Additive Manufacturing ที่มีวิธีการทำงานตรงข้ามกัน จะประหยัด Cost ที่เกิดจากของเสียได้มากกว่า
มีประเภทของ Additive Manufacturing ที่น่าสนใจอะไรบ้าง?
ขอยกตัวอย่าง 3 ประเภทหลัก ๆ ที่นิยมใช้กันในโลก
- SLA (Stereolithography) เป็นการใช้ของเหลวกับรังสี UV โดยฉายรังสี UV ให้ของเหลวแข็งตัวและกลายเป็นชิ้นงาน โดยประเภทนี้จะมีจุดเด่นในเรื่องความละเอียดและคุณภาพของชิ้นงาน
- SLS (Selective Laser Sintering) ประเภทนี้จะใช้ผลพลาสติกกับเลเซอร์ โดยใช้เลเซอร์ที่มีความร้อนไปฉีดกับผงพลาสติก เมื่อผงพลาสติกมีความร้อนก็จะหลอมละลายและจับตัวกัน ไล่ไปทีละชั้น ทำให้ชิ้นงานมีความแข็งแรง
- FFF (Fused Filament Fabrication) หรือเดิมเรียก FDM คือการฉีดวัสดุออกมาเป็นเส้นทับซ้อนกันเป็นชั้นแต่ละ Layer ทับซ้อนกันไปเรื่อย ๆ จะทำให้ได้ทั้งความสวยงาม แข็งแรง และยังลดความยุ่งยากในการใช้งานอีกด้วย ประเภทนี้จึงเป็นประเภทที่ได้รับความนิยมมากที่สุด อีกทั้งยังใช้ได้กับวัสดุที่หลากหลายด้วย
ตัวอย่างของการทำเทคโนโลยี Additive Manufacturing หรือ 3D Printing ไปใช้มีอะไรบ้าง?
ด้วยคุณสมบัติของเทคโนโลยี 3D Printing ที่ใช้ได้กับวัสดุที่หลากหลาย ตั้งแต่โลหะ ไทเทเนียม พลาสติก ฯลฯ จึงส่งผลต่อการใช้งานได้หลากหลายตามมา เช่น การทำ Prototype, งานสถาปัตยกรรม, วงการการแพทย์, ทันตแพทย์ (โมเดลฟัน, กระดูก) หรือวงการการศึกษา
ยกตัวอย่าง Success Case จากการใช้ 3D Printing
Volkswagen ได้นำเทคโนโลยี 3D Printing เข้าไปผลิตชิ้นส่วนหรือเครื่องมือต่าง ๆ ในโรงงานประกอบชิ้นส่วน เช่นพวก Jig/Fixture, มาตรวัด และอุปกรณ์จับประกอบชิ้นงาน ทำให้ประหยัดงบประมาณในการสั่งทำและประหยัดเวลาอีกด้วย คิดเป็นการประหยัดต้นทุนถึง 91%
โรงงาน Ford ที่นำ 3D Printer ไปปรินท์เครื่องมือต่าง ๆ แทนเครื่องมือเดิม ทำให้ประหยัดต้นทุนไปถึง 1,000 ยูโรต่อชิ้น ถือเป็นความสำเร็จที่พิสูจน์ว่าเทคโนโลยีนี้สามารถทดแทนเครื่องมือบางอย่างที่มีอยู่ได้
อาหารและเครื่องดื่ม อย่าง Heineken ที่สาขาในประเทศสเปน ได้ใช้เทคโนโลยี 3D Printing ในการคิดค้นเครื่องมือและอุปกรณ์ใหม่ ๆ เพื่อใช้แก้ปัญหา และปรับระบบการสั่งซื้อ ทำให้ลดระยะเวลาในการรอสินค้าได้และลดค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ Spare Part ได้ โดยลดต้นทุนได้ถึง 90%
สามารถฟังเนื้อหาเดียวกันบน Podcast ได้ที่ https://youtu.be/T9bY7JZVcWk
———————————————————–
ติดต่อเราได้ที่
เบอร์ 02-089-4145
Facebook : https://www.facebook.com/metro3dprint
YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCsSsXZoXrKG94OKindagPKQ
Email : Sales-DES@Metrosystems.co.th
IG : metro3dprint
#ultimaker #3d #3dprint #3dprinter #ultimakerS5probundle #เครื่องพิมพ์สามมิติ