ในปัจจุบันถ้าหากใครไม่เคยได้ยินคำว่า Internet Of Thing หรือ IOT ก็อาจจะถูกหาว่าเชยมาก ๆ เมื่อเปิดโทรทัศน์ ,วิทยุ ,ป้ายโฆษณา ,YouTube หรือแม้แต่กระทั่ง Facebook ทุกคนก็จะพบเจอกับคำพวกนี้อยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะทางองค์กรภาครัฐมีการออก “แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม” มาผลักดัน ,ให้ความรู้ และจัดกิจกรรมต่าง ๆ มากมายเกี่ยวกับ Internet Of Thing
ตัวอย่างล่าสุดที่ทางภาครัฐได้ออกข่าวเกี่ยวกับ “Phuket Smart City” ในโครงานการนี้ทางเทศบาลภูเก็ตได้แบ่งย่อยออกเป็น 4 แผนการทำงานคือ
- Smart Transit (การจัดการขนส่ง)
- Smart Energy (การจัดการพลังงาน)
- Smart Tourism (การจัดการด้านการท่องเที่ยว)
- Smart City (การจัดการภายในเมือง)
ซึ่งทำหมดนั้นทำงานอยู่บนหลักการของ Internet Of Thing หากเพื่อน ๆ สนใจรายละเอียดสามารถเข้าไปฟังได้ที่ลิ้งนี้ครับ Link : https://youtu.be/MPfYfLTteog หลังจากที่เกริ่นมายาว วันนี้ผมจะเล่าความหมายของ IOT Platform ให้ทุกคนได้รู้จักกัน
Internet Of Thing (IOT) คือ “อินเตอร์เน็ตสำหรับทุกสิ่ง” เป็นการเชื่อมต่อสิ่งของต่าง ๆ เช่น แอร์ ,ทีวี ,ตู้เย็น ,รถยนต์ หรือสิ่งของในชีวิตประจำวัน เข้ากับอินเตอร์เน็ต ทำให้มนุษย์สามารถสั่งการควบคุมการใช้งานสิ่งของผ่านทางอินเตอร์เน็ต ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตั้งแต่ตอนตื่นนอน ,การเดินทาง ,การทำงาน ไปจนถึงตอนเข้านอน
สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวมากที่สุดคือ โทรศัพท์มือถือ หลาย ๆ คนอาจจะสงสัยว่าเจ้าโทรศัพท์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนั้นเป็นอุปกรณ์ IOT ได้อย่างไร? เวลาผู้ใช้งานเปิดใช้งาน Google Maps ในการเดินทาง Google จะนำข้อมูลการเดินทางของเรา ตัวอย่าง
- ไปสถานที่อะไร
- ไปสถานที่นั้นเมื่อไหร่
- ใช้เวลาในการเดินทางไปถึงนานมากน้อยขนาดไหน
ข้อมูลพวกนี้สามารถนำไปใช้วิเคราะห์และประมวลผล (Analytic) เพื่อส่งข้อมูลตอบกลับมายังตัวผู้ใช้ ข้อมูลที่ส่งกลับมาถึงผู้ใช้อาจจะเป็นการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง แนะนำเส้นทางที่รวดเร็วที่สุดในการเดินทาง หรือแนะนำโปรโมชั่นของร้านอาหารใกล้เคียงกับตัวผู้ใช้งาน ซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการร้านอาหารในระแวกดังกล่าวได้รับรายได้มากขึ้น ที่ยกตัวอย่างมานั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น การประยุกต์ใช้งาน IOT เข้ากับชีวิตของมนุษย์ยังมีอีกมากมายนับไม่ถ้วน ตั้งแต่ บ้าน ,ที่ทำงาน ,ร้านอาหาร ,โรงพยาบาล จนไปถึงโรงงานอุตสาหกรรม
ทางบริษัท Metro Systems เป็นผู้นำทางด้านไอทีของประเทศไทยเห็นความสำคัญของการนำ Internet Of Thing เข้ามาใช้กับภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย จึงจัดตั้งหน่วยงานใหม่ชื่อว่า MetroIOT เพื่อดูแลกลุ่มลูกค้าที่ต้องการเพิ่มมูลค่าของบริษัทด้วย IOT โดยได้จับมือกับทางบริษัท PTC เพื่อนำ “ThingWorx” IOT Platform ชั้นนำระดับโลกเข้ามาช่วยขับเคลื่อนธุรกิจ
ThingWorx คือ Industrial IOT development platform หรือ Internet Of Thing สำหรับงานทางด้านอุตสาหกรรม เนื่องจากปัจจัยในงานทางด้านอุตสาหกรรมนั้นมีความต้องการในหลายเรื่อง เช่น
- ประเภทการเชื่อมต่อข้อมูลที่หลากหลาย ในโรงงานอุตสาหกรรมมีเครื่องจักรหลายประเภทตั้งแต่ ระบบจัดการทรัพยากรภายในโรงงาน (ไฟฟ้า ,น้ำดี ,น้ำเสีย) ,เครื่องจักรในสายพานการผลิต (PLC ,CNC) ไปจนถึงหุ่นยนต์ช่วยผลิต (Robot) ThingWorx สามารถเชื่อมต่อข้อมูลได้หลากหลายประเภท และยังรองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ในภาคอุตสหากรรมโดยตรงด้วย “ThingWorx Industrial Connectivity”
- ความรวดเร็วในการ Implement ปัจจัยสำคัญในการผลิตสินค้าคือ “เวลา” หากใช้เวลาในการ Implement ระบบ IOT มากทำให้เกิดการสูญเสียรายได้จากการผลิตมากตามไปด้วย ระยะเวลาในการ Implement ระบบด้วย ThingWorx สามารถทำได้ภายใน 1-2 ชั่วโมงเท่านั้น
- ความยุ่งยากในการจัดการระบบ โรงงานขนาดใหญ่มีความหลากหลายของระบบการทำงาน ทำให้การจัดการ ,ตรวจสอบ และควบคุม นั้นยุ่งยากและสับสน ThingWorx Manufacturing Apps เป็นตัวช่วยจัดการระบบต่าง ๆ ภายในโรงงาน แต่ตั้งการตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องจักร, ตรวจสอบสถานะการทำงาน รวมไปถึง Workflow ในการผลิตสินค้า อีกทั้งยังสามารถเชื่อมต่อระบบหลาย ๆ ระบบเข้าด้วยกัน
- ระบบตรวจสอบสอบความผิดพลาดของเครื่องจักร ปัญหาสำคัญที่ทุกโรงงานพบคือ เครื่องจักรหยุดการทำงานโดยไม่ทราบสาเหตุ ThingWatcher คือ ระบบ Anomaly Detection คอยเป็นผู้ช่วยให้การตรวจจับการทำงานของเครื่องจักร หากมีการทำงานที่ผิดพลาดไปจากการทำงานปกติจะมีการแจ้งเตือนล่วงหน้า ทำให้ผู้ดูแลสามารถเตรียมตัวในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรได้ทันท่วงที
- นวัฒตกรรมที่เพิ่มความสามารถในโรงงาน โรงงานขนาดใหญ่มีฝ่ายพัฒนานวัฒตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตที่มองหาเครื่องมือทันสมัยไปประยุกต์ใช้กับโรงงาน ThingWorx Studio คือเทคโนโลยี “Augmented Reality” ช่วยให้โรงงานนั้นทันสมัยมากขึ้น สามารถตรวจสอบข้อมูลของเครื่องจักรผ่านทางแว่นตา Microsoft HoloLens
- ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ในโรงงานผลิตสินค้ามีข้อมูลมากมายเกิดขึ้นทุก ๆ ชั่วโมง ทุก ๆ นาที ThingWorx สามารถนำข้อมูลจำนวนมหาศาลนั้นมาทำการวิเคาระห์เชิงลึกด้วย ThingWorx Analytic เพื่อนำไปพยากรณ์อนาคต ยอดขาย,พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หรือ ปัจจัยแผงที่ส่งผลต่อคุณภาพในการผลิต
จะเห็นได้ว่า ThingWorx นั้นออกแบบมาตอบโจทย์ในงานทางด้านอุตสาหกรรมอย่างมากและยังประยุกต์ใช้กับธุรกิจทั่วไปได้อย่างคล่องตัว เนื่องจากทีมพัฒนา ThingWorx มีประสบการณ์ในด้านระบบการทำงานของโรงงานอุตสาหกรรมมายาวนานจึงเข้าการระบบการทำงานของโรงงานอุสาหกรรมและได้ออกแบบ ThingWorx ช่วยลดความยุ่งยากในการเขียนโปรแกรม (Coding) โดยยึดคติการออกแบบระบบด้วยการ Drag and drop ( การลากและวาง ) ทำให้เกิดความยืดหยุ่นอย่างมาก ในการวางระบบ IOT ในโรงงานอุตสาหกรรม การใช้งาน ThingWorx ผู้ใช้สามารถแก้ไข ,ต่อเติม หรือพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาโดยผู้ใช้งานเองได้ด้วยพื้นฐาน JavaScript ในส่วนการเชื่อมต่อข้อมูลกับ ThingWorx สามารถทำได้หลากหลายรูปแบบเช่น MQTT ,RESTful API ,SQL การเชื่อมต่อข้างต้นเป็นเพียงการเชื่อมต่อพื้นฐานที่ทางผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเพิ่มเติม โดยรองรับรูปแบบการส่งข้อมูลทั้ง XML และ JSON
ทุกท่านที่อ่านมาจนถึงตอนนี้คงจะเห็นถึงความสามารถเบื้องต้นของ ThingWorx ในระดับหนึ่ง แต่เท่านั้นยังไม่พอ ThingWorx ยังมี Module เสริมอื่น ๆ เพื่อช่วยในการทำงานอีกมากมาย สามารถติดตามต่อกันได้ในบทความถัดไป
ติดต่อเราได้ที่
โทร 02-089-4145 (จ-ศ 8.30 – 17.00 น.)
ติดต่อได้ทุกเวลาโทร 097-158-8174
เว็บไซต์ https://metrosystems-des.com/
Facebook https://www.facebook.com/metrothingworx/
YouTube https://www.youtube.com/channel/UC5Vu0dePMAb9DcJmvzFpmJw